1.9.6.3 การสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง
ความสัมพันธ์อีกชนิดหนึ่งคือความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง เช่น สมมติว่า
จำเป็นต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพิเศษชนิดหนึ่งที่จะใช้น้อยครั้งมาก หรือจะ
นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์เพียงไม่กี่รายการเท่านั้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวบ่อยครั้ง
และเนื่องจากการเก็บบันทึกข้อมูลในตารางผลิตภัณฑ์อาจส่งผลให้เกิดพื้นที่ว่างในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นี้ ให้ใส่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวลงในตารางอื่นแยกต่างหาก และเช่นเดียวกัน
กับตารางผลิตภัณฑ์ ให้ใช้หมายเลขผลิตภัณฑ์เป็นคีย์หลัก ความสัมพันธ์ระหว่างตารางเสริมนี้และ
ตารางผลิตภัณฑ์จะเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง สำหรับแต่ละระเบียนในตารางผลิตภัณฑ์
นั้น จะมีระเบียนที่ตรงกันอยู่หนึ่งระเบียนในตารางเสริม เมื่อระบุความสัมพันธ์ดังกล่าว ตารางทั้ง
สองตารางจะต้องมีเขตข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน
เมื่อตรวจพบความจำเป็ นที่ต้องใช้ความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่งใน
ฐานข้อมูล ให้พิจารณาว่าสามารถนำข้อมูลจากตารางทั้งสองมาใส่ในตารางเดียวได้หรือไม่ ถ้าไม่
ต้องการทำเช่นนั้นด้วยเหตุผลบางอย่าง อาจเนื่องจากจะทำให้เกิดพื้นที่ว่างจำนวนมาก รายการ
ต่อไปนี้แสดงวิธีที่จะใช้ความสัมพันธ์ในการออกแบบ คือ
ถ้าตารางทั้งสองตารางนี้มีหัวเรื่องเดียวกัน อาจตั้งค่าความสัมพันธ์ด้วยการใช้
คีย์หลักเดียวกันในทั้งสองตาราง
ถ้าตารางสองตารางมีหัวเรื่องที่ต่างกันและมีคีย์หลักที่ต่างกัน ให้เลือกตาราง
หนึ่งตาราง (ตารางใดก็ได้) และแทรกคีย์หลักของตารางนั้นลงในอีกตารางหนึ่งเป็น Foreign Key
การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตารางต่างๆ จะช่วยให้เกิดแน่ใจว่าเรามีตาราง
และคอลัมน์ที่ถูกต้องแล้ว เมื่อมีความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่งหรือแบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่มอยู่ ตาราง
ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีคอลัมน์ร่วมกันอย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ เมื่อมีความสัมพันธ์แบบกลุ่ม-ต่อ-
กลุ่มอยู่ จะต้องมีตารางที่สามสำหรับแสดงความสัมพันธ์ดังกล่าว
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น