This is default featured slide 1 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 2 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 3 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 4 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

This is default featured slide 5 title

Go to Blogger edit html and find these sentences.Now replace these sentences with your own descriptions.

2.3.7 สร้างตารางได้อย่างรวดเร็วโดยใช้มุมมองแผ่นข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่

2.3.7 สร้างตารางได้อย่างรวดเร็วโดยใช้มุมมองแผ่นข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่


การสร้างตารางในปัจจุบันจะง่ายขึ้น เพียงแค่คลิก ตาราง บนแท็บ สร้าง และเริ่มป้อน ข้อมูลลงในมุมมองแผ่นข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่ Access 2007 จะกำหนดชนิดข้อมูลให้โดยอัตโนมัติ ดังนั้นเราจึงสามารถใช้งานได้ทันที คอลัมน์ เพิ่มเขตข้อมูลใหม่ จะทำให้เราสามารถเพิ่มเขตข้อมูล ได้อย่างง่ายดาย และถ้าเราต้องการเปลี่ยนชนิดข้อมูลหรือรูปแบบการแสดงผล ก็ทำได้โดยง่ายด้วย
รูปที่ 2-18  การสร้างฐานข้อมูลใหม่อย่างง่ายดาย

เมื่อต้องการเพิ่มเขตข้อมูล ก็เพียงแค่ลากเขตข้อมูลจากบานหน้าต่างใหม่ที่ชื่อว่าบานหน้าต่าง รายการเขตข้อมูล ไปบนแผ่นข้อมูลก็สามารถเพิ่มเขตข้อมูลจากตารางอื่นได้แล้ว จากนั้นAccess จะสร้างความสัมพันธ์ที่จำเป็นให้โดยอัตโนมัติ
รูปที่ 2-19  การเพิ่มรายการเขตข้อมูลที่มีอยู่

2.3.6 สร้างงานเร็วขึ้นโดยใช้แท็บสร้าง

2.3.6 สร้างงานเร็วขึ้นโดยใช้แท็บสร้าง


แท็บสร้าง บน Ribbon เป็นจุดเริ่มต้นหลักรูปแบบใหม่ที่ใช้ในการเพิ่มวัตถุใหม่ สิ่งนี้ ทำให้เราสามารถสร้างฟอร์ม รายงาน ตาราง รายการ SharePoint แบบสอบถาม แมโคร โมดูล และ อื่น ๆ ได้อย่างรวดเร็ว กระบวนการสร้างจะพิจารณาวัตถุที่ทำงานอยู่ ดังนั้นถ้าเราเปิดตารางอยู่ เรา สามารถสร้างฟอร์มใหม่โดยยึดตามตารางนั้นด้วยการคลิกเมาส์เพียงสองครั้ง ฟอร์มและรายงาน ใหม่จะมีลักษณะที่สวยงามขึ้นและสามารถใช้งานได้ทันที เนื่องจากการออกแบบฟอร์มและรายงาน เหล่านี้ล้วนถูกปรับรุ่นให้ดีขึ้น ตัวอย่างเช่น ฟอร์มและรายงานที่สร้างขึ้นโดยอัตโนมัติจะมีลักษณะ การออกแบบอย่างมืออาชีพโดยส่วนหัวจะประกอบด้วยโลโก้ ชื่อเรื่อง ขณะที่รายงานจะมีการเพิ่ม ในส่วนของวันที่และเวลา ซึ่งยังไม่รวมข้อมูลในส่วนท้ายและผลรวมอีกต่างหาก เป็นต้น ทำให้ สามารถสร้างงานได้อย่างง่ายดาย
 
รูปที่ 2-17  แท็บสร้างตาราง ฟอร์ม รายงาน และอื่น ๆ

2.3.5 Rich Text ในเขตข้อมูล Memo

2.3.5 Rich Text ในเขตข้อมูล Memo

ด้วยการสนับสนุนข้อความ Rich Text แบบใหม่ใน Access 2007 จึงไม่ถูกจำกัดด้วย ข้อความธรรมดาอีกต่อไป เราสามารถจัดรูปแบบข้อความด้วยตัวเลือกต่างๆ เช่น ตัวหนา ตัวเอียง แบบอักษรและสีที่แตกต่างกัน ตลอดจนตัวเลือกการจัดรูปแบบทั่วไปอื่นๆ รวมทั้งยังสามารถจัดเก็บ ข้อความนั้นในฐานข้อมูลของเราได้ด้วย ข้อความที่จัดรูปแบบ Rich Text จะถูกเก็บอยู่ในเขตข้อมูล Memo ในรูปแบบของ Html ที่เข้ากันได้กับชนิดข้อมูล Rich Text ใน Windows SharePoint Services เราสามารถตั้งค่าคุณสมบัติ รูปแบบข้อความ ใหม่ให้เป็น Rich Text หรือ ข้อความ ธรรมดา จากนั้นข้อมูลจะถูกจัดรูปแบบอย่างเหมาะสมในตัวควบคุมกล่องข้อความและในมุมมอง แผ่นข้อมูล

2.3.4 ปฏิทินสำหรับเลือกวันที่อัตโนมัติ

2.3.4 ปฏิทินสำหรับเลือกวันที่อัตโนมัติ


เขตข้อมูลและตัวควบคุมที่ใช้ชนิดข้อมูล Date/Time จะมีคุณลักษณะใหม่โดย อัตโนมัติ นั่นคือการสนับสนุนปฏิทินแบบโต้ตอบที่มีอยู่แล้วภายในสำหรับการเลือกวันที่ ปุ่ม ปฏิทินจะปรากฏขึ้นอัตโนมัติทางด้านขวาของวันที่ ถ้าต้องการรู้วันที่ของวันศุกร์ที่จะถึงนี้ ให้คลิก ปุ่มแล้วปฏิทินจะปรากฏขึ้นเพื่อให้เราค้นหาและเลือกวันที่ดังกล่าว เราสามารถเลือกที่จะปิดใช้งาน ปฏิทินสำหรับเขตข้อมูลหรือตัวควบคุมได้โดยใช้คุณสมบัติ

 
รูปที่ 2-16 เขตข้อมูลและตัวควบคุมที่ใช้ชนิดข้อมูล Date/Time

2.3.3 เค้าโครงแบบเรียงซ้อนและแบบตาราง

2.3.3 เค้าโครงแบบเรียงซ้อนและแบบตาราง


ฟอร์มและรายงานมักจะมีข้อมูลแบบตาราง เช่น คอลัมน์ที่มีชื่อลูกค้าหรือแถวที่มีเขต ข้อมูลทั้งหมดสำหรับลูกค้าหนึ่งราย เราสามารถใช้ Access 2007 จัดกลุ่มตัวควบคุมเหล่านี้ลงในเค้า โครงที่สามารถจัดการได้ง่ายโดยรวมเป็นหน่วยเดียวกัน รวมทั้งป้ายชื่อด้วย เนื่องจากเราสามารถ เลือกตัวควบคุมจากส่วนที่ต่างกันได้ เช่น ป้ายชื่อในส่วนหัวหรือส่วนท้าย เราจึงมีความยืดหยุ่นใน การทำงาน

 
รูปที่ 2-15 เค้าโครงแบบเรียงซ้อนของฐานข้อมูล


โดยเราสามารถทำสิ่งต่อไปนี้ได้อย่างง่ายดาย

1. ย้ายหรือปรับขนาดเค้าโครง ตัวอย่างเช่น ย้ายคอลัมน์ไปทางซ้ายหรือทางขวา

2. จัดรูปแบบเค้าโครง ตัวอย่างเช่น ตั้งค่าคอลัมน์ชื่อลูกค้าให้เป็นแบบตัวหนา เพื่อให้เห็นชัดเจน

3. เพิ่มคอลัมน์ (เขตข้อมูล) ลงในเค้าโครง

4. ลบคอลัมน์ (เขตข้อมูล) ออกจากเค้าโครง

เค้าโครงจะถูกบันทึกพร้อมกับการออกแบบของเราเพื่อให้พร้อมใช้งานได้

2.3.2 มุมมองเค้าโครง

2.3.2 มุมมองเค้าโครง


มุมมองเค้าโครงใหม่ทำให้เราสามารถเปลี่ยนแปลงการออกแบบได้ในขณะที่เราเรียกดู ความสามารถนี้อนุญาตให้เราเปลี่ยนแปลงการออกแบบโดยทั่วไปได้หลายอย่างในขณะที่เรากำลังดู ฟอร์มหรือรายงานอยู่ ตัวอย่างเช่น เราสามารถเพิ่มเขตข้อมูลด้วยการลากจากบานหน้าต่าง รายการ เขตข้อมูลใหม่ หรือเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติโดยใช้แผ่นคุณสมบัติ มุมมองเค้าโครงจะสนับสนุนเค้า โครงใหม่ทั้งแบบเรียงซ้อนและแบบตาราง ซึ่งเป็นกลุ่มของตัวควบคุมที่เราสามารถจัดการได้ง่าย โดยรวมเป็นหนึ่งเดียว ดังนั้นเราจึงสามารถจัดเรียงเขตข้อมูล คอลัมน์ แถว หรือเค้าโครงรวมใหม่ได้ อย่างง่ายดาย นอกจากนี้ เรายังสามารถเอาเขตข้อมูลออก หรือเพิ่มการจัดรูปแบบได้โดยง่ายใน มุมมองเค้าโครง มุมมองออกแบบยังคงมีให้ใช้สำหรับงานที่มีรายละเอียดมากกว่า และยังได้รับการ ปรับปรุงเพื่อสนับสนุนเค้าโครงด้วย

 
รูปที่ 2-14 มุมมองเค้าโครงของฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access 2007


2.3.1 การเรียงลำดับและการกรองที่มีประสิทธิภาพขึ้น

2.3.1 การเรียงลำดับและการกรองที่มีประสิทธิภาพขึ้น

เราต้องการค้นหาค่าที่ตรงกันหรือเรียงลำดับข้อมูลในคอลัมน์อย่างรวดเร็วหรือไม่ คุณลักษณะตัวกรองอัตโนมัติแบบใหม่ของ Access 2007 ได้เพิ่มขีดความสามารถในการกรองให้มี สมรรถนะมากขึ้นเพื่อให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลที่เราต้องการได้เร็วขึ้น เราสามารถเลือกค่าที่ไม่ซ้ำ ในคอลัมน์นั้นได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจะมีประโยชน์มากถ้าเราจำชื่อที่เราต้องการใช้ไม่ได้ หรือ 
 
รูปที่ 2-13  การเรียงลำดับและการกรองข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access 2007


เราจะค้นหาตัวเลือกการกรองที่ใช้งานบ่อยที่สุดได้ในคำสั่งบนเมนู หรือเราสามารถใช้ ตัวกรองด่วนเพื่อจำกัดข้อมูลโดยยึดตามข้อมูลที่เราป้อนเข้ามาได้ ตัวเลือกตัวกรองด่วนจะเปลี่ยนไป โดยอัตโนมัติขึ้นอยู่กับชนิดข้อมูลนั้น ดังนั้นเราจะเห็นตัวเลือกที่เหมาะกับข้อมูลแบบข้อความ วันที่ และตัวเลข 

คุณลักษณะการกรองและการเรียงลำดับได้รับการออกแบบใหม่เพื่อให้เราไม่รู้สึกถึง ความแตกต่างไม่ว่าจะกำลังใช้งานอยู่ใน Access 2007 หรือ Excel 2007

2.3 คุณลักษณะใหม่

2.3 คุณลักษณะใหม่

 2.3.1 การเรียงลำดับและการกรองที่มีประสิทธิภาพขึ้น

2.3.2 มุมมองเค้าโครง

2.3.3 เค้าโครงแบบเรียงซ้อนและแบบตาราง

2.3.4 ปฏิทินสำหรับเลือกวันที่อัตโนมัติ

2.3.5 Rich Text ในเขตข้อมูล Memo

2.3.6 สร้างงานเร็วขึ้นโดยใช้แท็บสร้าง

2.3.7 สร้างตารางได้อย่างรวดเร็วโดยใช้มุมมองแผ่นข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่

2.3.8 แถวผลรวมในแผ่นข้อมูล

2.3.9 แม่แบบเขตข้อมูลสำหรับการสร้างเขตข้อมูลใหม่

2.3.10 บานหน้าต่างงานรายการเขตข้อมูล

2.3.11 ฟอร์มแยก

2.3.12 เขตข้อมูลที่มีหลายค่า

2.3.13 ชนิดข้อมูล Attachment สำหรับเก็บรูปภาพ กราฟิก แฟ้ม Office หรือแฟ้มชนิดใด ๆ

2.3.14 ใช้สีพื้นหลังที่สลับกัน

2.3.15 บานหน้าต่างนำทาง

2.3.16 แมโครฝังตัว

2.3.17 ตัวแสดงวิธีใช้ที่ปรับปรุงใหม่

2.2 แม่แบบชั้นเยี่ยมสำหรับเริ่มต้น

2.2 แม่แบบชั้นเยี่ยมสำหรับเริ่มต้น


การใช้หน้าต่าง การเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access จะทำให้เราสามารถเริ่มต้น สร้างฐานข้อมูลของเราได้อย่างรวดเร็ว เราสามารถสร้างฐานข้อมูลของเราเองหรือเริ่มจากแม่แบบ ฐานข้อมูลที่ออกแบบไว้อย่างมืออาชีพแบบใดแบบหนึ่งก็ได้
 
รูปที่ 2-11  หน้าต่างเริ่มต้นของโปรแกรม Microsoft Access 2007

แม่แบบแต่ละแบบเป็นโปรแกรมประยุกต์สำหรับการติดตามที่สมบูรณ์ มีตาราง ฟอร์ม รายงาน แบบสอบถาม แมโคร และความสัมพันธ์ที่กำหนดไว้ล่วงหน้า แม่แบบถูกออกแบบให้ สามารถใช้งานได้ทันทีที่เลือก เพื่อให้เราสามารถเริ่มต้นและทำงานได้อย่างรวดเร็ว ถ้าการออกแบบ แม่แบบนั้นตรงกับความต้องการของเรา เราก็พร้อมลุยงานได้ทันที แต่ถ้ายังไม่ตรงนัก เราสามารถ ใช้แม่แบบนั้นเป็นตัวตั้งต้นเพื่อสร้างฐานข้อมูลที่ตรงกับความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของเราได้ 

Access 2007 มีคอลเลกชันของแม่แบบฐานข้อมูลที่พร้อมให้เลือกใช้ แต่เรายังสามารถใช้ หน้าต่างการเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access เชื่อมต่อกับ Microsoft Office Online และ ดาวน์โหลดแม่แบบใหม่ล่าสุดหรือแม่แบบที่ปรับปรุงแก้ไขแล้วมาใช้ได้อีก 

แม่แบบต่าง ๆ ที่เตรียมไว้ให้ คือ สินทรัพย์ ที่ติดต่อ ประเด็น เหตุการณ์ โครงการการตลาด โครงการ ไปป์ไลน์การขาย งาน คณะ และนักเรียน เป็นต้น 

 
รูปที่ 2-12  แม่แบบฐานข้อมูลที่อยู่หน้าเริ่มต้นของโปรแกรม Microsoft Access 2007

2.1.7 แถบเครื่องมือขนาดเล็ก

2.1.7 แถบเครื่องมือขนาดเล็ก

แถบเครื่องมือขนาดเล็ก มีองค์ประกอบคล้ายกับแถบเครื่องมือ โดยจะปรากฏเป็นแบบโปร่งใสอยู่เหนือข้อความที่เราเลือก เพื่อให้เราสามารถใช้การจัดรูปแบบได้อย่างง่ายดาย เช่นตัวหนาหรือตัวเอียง หรือเปลี่ยนแบบอักษร

2.1.6 แถบสถานะ

2.1.6 แถบสถานะ

แถบสถานะ คือแถบที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้าต่างซึ่งจะแสดงข้อมูลสถานะและมีปุ่มต่าง ๆ ของมุมมองทางด้านขวามือที่ใช้สลับมุมมองได้

 
รูปที่ 2-10  แถบสถานะ และมุมมอง

2.1.5 เอกสารในแท็บ

2.1.5 เอกสารในแท็บ

เอกสารในแท็บ ตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม รายงาน และแมโคร ที่แสดงในรูปของเอกสารในแท็บ
 
รูปที่ 2-9 เอกสารในแท็บของตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม รายงาน และแมโคร

2.1.4 บานหน้าต่างนำทาง

2.1.4 บานหน้าต่างนำทาง

บานหน้าต่างนำทาง เป็นพื้นที่ทางด้านซ้ายของหน้าต่างที่จะแสดงวัตถุฐานข้อมูล บานหน้าต่างนำทางนี้มาแทนหน้าต่างฐานข้อมูลของ Access รุ่นก่อนหน้า
 
รูปที่ 2-8  บานหน้าต่างนำทาง พื้นที่ทางด้านซ้ายที่แสดงวัตถุฐานข้อมูล

2.1.3 Ribbon

2.1.3 Ribbon


คือ แถบเครื่องมือชุดคำสั่งที่แบ่งเป็นแท็บ ๆ อยู่ส่วนบนของหน้าต่างรองจากแถบชื่อ (Title bar) ซึ่งมาแทนแถบเมนูในโปรแกรมเก่า


รูปที่ 2-3 Ribbon แถบเครื่องมือชุดคำสั่ง

1 แท็บคำสั่ง คำสั่งต่าง ๆ จะแสดงและรวมอยู่ด้วยกันเพื่อให้สามารถหาคำสั่งที่ต้องการใช้ได้ตามต้องการ และถ้าชุดคำสั่งใดมีจุดมุมทางด้านล่างขวามือ จะเป็นที่เปิดงานของชุดคำสั่งนั้น ๆ

 
รูปที่ 2-4  แท็บชุดคำสั่งคำสั่ง และจุดมุมทางด้านล่างขวามือที่เปิดแผ่นงาน

2. แท็บคำสั่งตามบริบท เป็นแท็บคำสั่งที่จะปรากฏตามบริบทของงาน คือวัตถุที่กำลังทำงานด้วยหรืองานที่กำลังทำอยู่ แท็บนี้จะมีสีสันและมีคำสั่งที่เหมาะสำหรับนำไปใช้กับสิ่งที่เรากำลังทำงานอยู่มากที่สุด

 
รูปที่ 2-5  แท็บคำสั่งตามบริบท ที่ปรากฏตามบริบทของงาน

3. แกลเลอรี เป็นตัวควบคุมใหม่ที่จะแสดงตัวเลือกแบบเห็นภาพ เพื่อให้เราสามารถเห็นผลลัพธ์ที่เราจะได้รับ แกลเลอรีจะถูกใช้ทั่วไปในส่วนติดต่อของ 2007 Microsoft Office systemแกลเลอรีทำให้เราสามารถเลือกผลลัพธ์ได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องทำอย่างไรถึงจะได้ผลลัพธ์นั้น

 
รูปที่ 2-6  แกลเลอรี ตัวควบคุมใหม่ที่แสดงตัวเลือกแบบเห็นภาพ เมื่อนำเมาส์เลื่อนผ่านไป 

4. แถบเครื่องมือด่วน เป็นแถบเครื่องมือมาตรฐานเดียวที่ปรากฏใน Ribbon เพื่อให้เข้าถึงคำสั่งที่จำเป็นมากที่สุดอย่างทันใจในคลิกเดียว เช่น บันทึก เลิกทำ ฯลฯ โดยสามารถเพิ่มเติมคำสั่งได้ จากรายการคำสั่งเพิ่มเติม... และการเพิ่มโดยคลิกขวาที่ปุ่มคำสั่งของ Ribbon

 
รูปที่ 2-7  แถบเครื่องมือด่วน แถบเครื่องมือมาตรฐานที่ใช้ได้อย่างรวดเร็ว



2.1.2 ปุ่ม Office

2.1.2 ปุ่ม Office


คือ ปุ่มที่ใช้ควบคุมคำสั่งหลักเกี่ยวกับการสร้างแฟ้ม การเปิดแฟ้ม การบันทึก การบันทึกเป็น การพิมพ์ การจัดการ อีเมล ประกาศ ปิดฐานข้อมูล เอกสารล่าสุด และตัวเลือกของ Access

 
รูปที่ 2-2  ปุ่ม Office ที่ใช้ควบคุมคำสั่งหลัก

2.1.1 หน้า

2.1.1 หน้า



เมื่อเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access จะเป็นประสบการณ์การเริ่มต้นใช้งาน แบบใหม่ที่จะแสดงเมื่อเราเริ่ม Access จากเมนู เริ่ม (Start) หรือทางลัดบนเดสก์ท็อป จะเปิด หน้าต่างการเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access

 
รูปที่ 2-1 การเปิดโปรแกรม Access 2007 จากปุ่มเริ่มและหน้าการเริ่มต้นโปรแกรม

2.1 ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ปรับปรุงใหม่

2.1 ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ปรับปรุงใหม่


Access 2007 ใช้ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ออกแบบใหม่หมดเพื่อช่วยให้เราสามารถทำงานได้อย่างมี ประสิทธิผลมากขึ้น เราสามารถทำงานได้เร็วขึ้น เรียนรู้ได้เร็วขึ้นและค้นหาได้เร็วขึ้น ส่วนติดต่อ 

Ribbon ทำให้เราสามารถหากลุ่มของคำสั่งที่เกี่ยวข้องกันได้เร็วขึ้น ตัวอย่างเช่น ถ้าเรา ต้องการสร้างฟอร์มหรือรายงานใหม่ เราจะหาคำสั่งได้ในแท็บ 'สร้าง' การออกแบบใหม่นี้ทำให้การ ค้นหาคำสั่งที่เราต้องการง่ายขึ้น และเราจะพบคุณลักษณะที่เราอาจไม่เคยสังเกตเห็นมาก่อนด้วย เนื่องจากแท็บที่ใช้ใน Access 2007 นั้น จะวางคำสั่งต่างๆ ไว้ในส่วนหน้าโดยที่ไม่ได้เรียงซ้อนลงใน เมนูเหมือนก่อน ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลาค้นหาและสามารถจดจำตำแหน่งคำสั่งได้ดีขึ้น 


นอกจากนี้ เรายังสามารถเริ่มต้นใช้งานและทำงานได้เร็วขึ้นด้วยหน้าต่างการเริ่มต้นใช้งาน Microsoft Office Access คุณลักษณะนี้จะให้ประสบการณ์การเข้าถึงการเริ่มต้นใช้งานที่รวดเร็ว รวมถึงการเข้าถึงไลบรารีของแม่แบบฐานข้อมูลที่ได้รับการออกแบบมาอย่างมืออาชีพด้วย

องค์ประกอบที่สำคัญของส่วนติดต่อใหม่ใน Access 2007 ประกอบด้วย

1. หน้า

2. ปุ่ม Office

3. Ribbon

4. บานหน้าต่างนำทาง

5. เอกสารในแท็บ ตาราง แบบสอบถาม ฟอร์ม รายงาน และแมโคร

6. แถบสถานะ

7. แถบเครื่องมือขนาดเล็ก

1.9.8 การใช้กฎ Normalization

1.9.8 การใช้กฎ Normalization


เราสามารถใช้กฎ Normalization ข้อมูล (บางครั้งเรียกแค่ว่า กฎ Normalization) ใน ขั้นต่อไปของการออกแบบ การใช้กฎเหล่านี้เพื่อดูว่าตารางมีโครงสร้างที่ถูกต้องหรือไม่ กระบวนการใช้กฎเหล่านี้กับการออกแบบฐานข้อมูลเรียกว่าการ Normalizing ฐานข้อมูล หรือ Normalization

Normalization จะมีประโยชน์มากที่สุดหลังจากที่ได้แสดงรายการข้อมูลทั้งหมดและ ออกแบบเบื้องต้นแล้ว ความคิดคือช่วยตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้แบ่งรายการข้อมูลออกเป็นตารางที่ เหมาะสม สิ่งที่ Normalization ทำไม่ได้ก็คือการตรวจสอบว่ามีข้อมูลที่ถูกต้องทั้งหมดแล้วตั้งแต่เริ่ม 

การใช้กฎ Normalization ไปตามลำดับในแต่ละขั้นเพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าการ ออกแบบตรงกับสิ่งที่รู้จักกันว่าเป็น “รูปแบบปกติ” โดยรูปแบบปกติที่ยอมรับกันอย่างกว้างขวางมี อยู่ 5 แบบ นั่นคือรูปแบบปกติที่หนึ่งจนถึงรูปแบบปกติที่ห้า ในที่นี้จะกล่าวถึงรูปแบบปกติในสาม รูปแบบแรก เนื่องจากเป็นสิ่งที่ต้องมีสำหรับการออกแบบฐานข้อมูลส่วนมาก

1. รูปแบบปกติที่หนึ่ง
รูปแบบปกติแบบที่หนึ่งระบุว่าทุกตำแหน่งที่แถวและคอลัมน์ตัดกันในตาราง ต้องเก็บค่าเพียงค่าเดียว ไม่ใช่รายการของค่า ตัวอย่างเช่น เราไม่สามารถมีเขตข้อมูลชื่อ 'ราคา' ไว้ เก็บราคามากกว่าราคาเดียวได้ ถ้าลองนึกว่าตำแหน่งที่ตัดกันของแถวและคอลัมน์คือเซลล์ แต่ละ เซลล์ต้องเก็บค่าเพียงค่าเดียวเท่านั้น 

2. รูปแบบปกติที่สอง 
รูปแบบปกติที่สองบังคับว่าคอลัมน์แต่ละคอลัมน์ที่ไม่ใช่คีย์ต้องขึ้นกับคีย์หลัก ทั้งหมด ไม่ใช่เพียงบางส่วนของคีย์หลัก กฎนี้ใช้เมื่อมีคีย์หลักซึ่งประกอบด้วยคอลัมน์มากกว่าหนึ่ง คอลัมน์ ตัวอย่างเช่น สมมติว่ามีตารางซึ่งมีคอลัมน์ต่อไปนี้ โดยที่ ID ใบสั่งซื้อและหมายเลข ผลิตภัณฑ์รวมกันเป็นคีย์หลัก 
ID ใบสั่งซื้อ (คีย์หลัก)
หมายเลขผลิตภัณฑ์ (คีย์หลัก)
ชื่อผลิตภัณฑ์

การออกแบบนี้ละเมิดรูปแบบปกติที่สอง เนื่องจากชื่อผลิตภัณฑ์ขึ้นอยู่กับ หมายเลขผลิตภัณฑ์ แต่ไม่ขึ้นกับ ID ใบสั่งซื้อ ดังนั้นจึงไม่ขึ้นกับคีย์หลักทั้งหมด ต้องเอาชื่อ ผลิตภัณฑ์ออกจากตารางเพราะเป็นของตารางอื่น (ผลิตภัณฑ์)

3. รูปแบบปกติที่สาม
รูปแบบปกติที่สามบังคับว่าไม่เพียงแต่คอลัมน์ที่ไม่ใช่คีย์ต้องขึ้นกับคีย์หลัก ทั้งหมดเท่านั้น แต่คอลัมน์ที่ไม่ใช่คีย์ต้องเป็นอิสระจากกันด้วย

อธิบายได้อีกอย่างว่า แต่ละคอลัมน์ที่ไม่ใช่คีย์ต้องขึ้นกับคีย์หลักทั้งหมดและ ต้องขึ้นกับคีย์หลักอย่างเดียวเท่านั้น ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณมีตารางซึ่งมีคอลัมน์ต่อไปนี้ คือ
หมายเลขผลิตภัณฑ์ (คีย์หลัก)
ชื่อ
ราคาขายปลีก
ส่วนลด

สมมติว่าส่วนลดขึ้นกับราคาขายปลีก ตารางนี้ละเมิดรูปแบบปกติที่สาม เนื่องจากคอลัมน์ที่ไม่ใช่คีย์คือส่วนลดขึ้นกับราคาขายปลีกซึ่งไม่ใช่คอลัมน์คีย์ ความเป็นอิสระของ คอลัมน์หมายความว่าเราควรสามารถเปลี่ยนแปลงคอลัมน์ที่ไม่ใช่คีย์ได้โดยไม่มีผลต่อคอลัมน์อื่น ถ้าคุณเปลี่ยนค่าในเขตข้อมูลราคาขายปลีกแล้ว ส่วนลดก็จะเปลี่ยนตามด้วย ดังนั้นจึงละเมิดกฎ ใน กรณีนี้ควรย้ายส่วนลดไปอยู่อีกตารางหนึ่งซึ่งมีราคาขายปลีกเป็นคีย์อยู่

1.9.7 การปรับการออกแบบให้ดียิ่งขึ้น

1.9.7 การปรับการออกแบบให้ดียิ่งขึ้น


เมื่อมีตาราง เขตข้อมูล และความสัมพันธ์ตามที่ต้องการแล้ว ควรสร้างตารางและใส่ ข้อมูลตัวอย่างแล้วลองทำงานกับข้อมูล เช่น สร้างแบบสอบถาม เพิ่มระเบียนใหม่ และอื่น ๆ การทำ เช่นนี้จะช่วยให้เห็นปัญหาที่อาจเกิดได้ชัดเจน ตัวอย่างเช่น อาจต้องการเพิ่มคอลัมน์ที่ลืมแทรกใน ระหว่างขั้นตอนออกแบบ หรืออาจมีตารางที่ควรจะแยกเป็นสองตารางเพื่อไม่ให้ซ้ำกัน

ให้ดูว่าสามารถใช้ฐานข้อมูลดึงคำตอบที่ต้องการได้หรือไม่ ให้สร้างฟอร์มและ รายงานอย่างคร่าว ๆ ขึ้น แล้วดูว่าฟอร์มและรายงานเหล่านี้แสดงข้อมูลที่คุณคาดไว้หรือไม่ ดูว่ามี ข้อมูลที่ซ้ำกันโดยไม่จำเป็นหรือไม่ เมื่อพบว่ามี ให้แก้ไขการออกแบบเพื่อกำจัดข้อมูลเหล่านี้ ขณะที่ลองใช้ฐานข้อมูลในขั้นเริ่มต้น อาจพบสิ่งที่ต้องปรับปรุง สิ่งที่ควรตรวจสอบไม่กี่อย่างมี ดังนี้

1. ลืมคอลัมน์ใดหรือไม ถ้าลืม ่ ข้อมูลนั้นเป็นของตารางที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ถ้าเป็น ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งอื่น อาจต้องสร้างตารางอีกตาราง ให้สร้างคอลัมน์สำหรับข้อมูลทุกอย่างที่คุณ ต้องการติดตาม ถ้าข้อมูลนั้นไม่สามารถคำนวณได้จากคอลัมน์อื่น ก็เป็นไปได้อย่างยิ่งที่ต้องสร้าง เป็นคอลัมน์ใหม่ 

2. มีคอลัมน์ที่ไม่จำเป็นเนื่องจากสามารถคำนวณจากเขตข้อมูลที่มีอยู่แล้วหรือไม่ ถ้ารายการข้อมูลนั้นสามารถคำนวณได้จากคอลัมน์ที่มีอยู่ ตัวอย่างเช่น ราคาที่ลดซึ่งคำนวณจาก ราคาขายปลีก การทำแบบนั้นมักจะดีกว่าและเลี่ยงการสร้างคอลัมน์ใหม่ 

3. ใส่ข้อมูลเดียวกันซ้ำกันหลาย ๆ ครั้งลงในตารางหรือไม่ ถ้าเป็นเช่นนี้ อาจ จำเป็นต้องแบ่งตารางออกเป็นสองตารางที่มีความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม 

4. มีตารางซึ่งมีเขตข้อมูลจำนวนมาก มีจำนวนระเบียนที่จำกัด และมีเขตข้อมูลว่าง จำนวนมากในแต่ละระเบียนหรือไม่ ถ้ามี ลองนึกถึงการออกแบบตารางใหม่เพื่อให้มีเขตข้อมูล น้อยลงและมีระเบียนมากขึ้น 

5. รายการข้อมูลแต่ละรายการแตกออกเป็นส่วนเล็กที่สุดซึ่งมีประโยชน์หรือไม่ ถ้าต้องการทำรายงาน เรียงลำดับ ค้นหา หรือคำนวณข้อมูลรายการหนึ่ง ให้ใส่ข้อมูลนั้นในคอลัมน์ ของตัวเอง 

6. แต่ละคอลัมน์มีข้อมูลเกี่ยวกับหัวเรื่องของตารางหรือไม่ ถ้าคอลัมน์ไม่มีข้อมูล เกี่ยวกับหัวเรื่องของตาราง แสดงว่าหัวเรื่องดังกล่าวอยู่ในตารางอื่น 

7. ความสัมพันธ์ทั้งหมดระหว่างตารางถูกแสดงให้เห็นผ่านเขตข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน หรือตารางที่สามหรือไม่ ความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่งและแบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่มจะต้องมีคอลัมน์ ร่วมกัน ความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่มต้องการตารางที่สาม

การปรับปรุงตาราง 

สมมติว่าผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดในฐานข้อมูลการขายผลิตภัณฑ์อยู่ในประเภททั่วไป เช่น เครื่องดื่ม เครื่องเทศ หรืออาหารทะเล ตารางผลิตภัณฑ์ควรจะมีเขตข้อมูลที่แสดงประเภทของ ผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดด้วย 

สมมติว่าหลังจากที่ตรวจสอบและปรับปรุงการออกแบบฐานข้อมูลแล้ว ตัดสินใจ เก็บคำอธิบายประเภทผลิตภัณฑ์พร้อมกับชื่อ ถ้าจะเพิ่มเขตข้อมูล 'คำอธิบายประเภท' ลงในตาราง ผลิตภัณฑ์ คุณต้องอธิบายซ้ำแต่ละประเภทสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ที่อยู่ในประเภทเดียวกัน ซึ่ง ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาที่ดีนัก 

ทางแก้ปัญหาที่ดีกว่าคือให้ “ประเภท” เป็นหัวเรื่องใหม่ในฐานข้อมูลที่จะติดตาม โดยมีตารางและคีย์หลักเป็นของตัวเอง จากนั้นจะสามารถเพิ่มคีย์หลักจากตารางประเภทให้เป็น Foreign Key ในตารางผลิตภัณฑ์ได้ 

ตารางประเภทและตารางผลิตภัณฑ์มีความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม นั่นคือ ประเภทหนึ่งอาจมีผลิตภัณฑ์มากกว่าหนึ่งอย่าง แต่ผลิตภัณฑ์หนึ่งจะอยู่ในประเภทเดียวเท่านั้น 

เมื่อได้ตรวจทานโครงสร้างตาราง ให้มองหากลุ่มที่ซ้ำกัน ตัวอย่างเช่น พิจารณา ตารางซึ่งมีคอลัมน์ต่อไปนี้ 


หมายเลขผลิตภัณฑ์
ชื่อ

หมายเลขผลิตภัณฑ์1
ชื่อ1

หมายเลขผลิตภัณฑ์2
ชื่อ2

หมายเลขผลิตภัณฑ์3
ชื่อ3

ในที่นี้ ผลิตภัณฑ์แต่ละรายการเป็นกลุ่มของคอลัมน์ที่เกิดขึ้นซ้ำกันซึ่งแต่ละคอลัมน แตกต่างจากคอลัมน์อื่นโดยมีการเพิ่มตัวเลขลงที่ส่วนท้ายของชื่อคอลัมน์ เมื่อเห็นว่ามีการใส่ตัวเลข ลงในคอลัมน์ด้วยวิธีนี้ ควรจะคิดแก้ไขการออกแบบของคุณเสียใหม่ 

การออกแบบดังกล่าวมีข้อผิดพลาดหลายแห่ง ประการแรก จะต้องระบุจำนวน ผลิตภัณฑ์ที่มีได้มากสุด ทันทีที่มีผลิตภัณฑ์เกินจำนวนที่จำกัดไว้ ต้องเพิ่มกลุ่มของคอลัมน์ใหม่ลง ในโครงสร้างตาราง ซึ่งเป็นงานหลักของผู้ดูแลระบบ 

อีกปัญหาหนึ่งคือผู้จำหน่ายสินค้าที่มีจำนวนผลิตภัณฑ์น้อยกว่าจำนวนสูงสุดจะทำ ให้เปลืองพื้นที่ เนื่องจากคอลัมน์เพิ่มเติมจะเป็นคอลัมน์ว่าง ข้อผิดพลาดร้ายแรงที่สุดของการ ออกแบบนี้คือจะทำงานหลายอย่างได้ยาก เช่น การเรียงลำดับหรือการทำดัชนีของตารางตาม หมายเลขผลิตภัณฑ์หรือชื่อผลิตภัณฑ์ 

เมื่อใดก็ตามที่เห็นกลุ่มซ้ำ ให้ตรวจทานการออกแบบอย่างละเอียดโดยเน้นที่การแบ่ง ตารางออกเป็นสองตาราง ในตัวอย่างข้างต้น จะเป็นการดีกว่าถ้าใช้สองตาราง ตารางหนึ่งสำหรับผู้ จำหน่ายและอีกตารางสำหรับผลิตภัณฑ์ แล้วเชื่อมโยงกันด้วย ID ผู้จำหน่าย

1.9.6.3 การสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง

1.9.6.3 การสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง


ความสัมพันธ์อีกชนิดหนึ่งคือความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง เช่น สมมติว่า จำเป็นต้องบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพิเศษชนิดหนึ่งที่จะใช้น้อยครั้งมาก หรือจะ นำไปใช้กับผลิตภัณฑ์เพียงไม่กี่รายการเท่านั้น เนื่องจากไม่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลดังกล่าวบ่อยครั้ง และเนื่องจากการเก็บบันทึกข้อมูลในตารางผลิตภัณฑ์อาจส่งผลให้เกิดพื้นที่ว่างในผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์นี้ ให้ใส่ผลิตภัณฑ์ดังกล่าวลงในตารางอื่นแยกต่างหาก และเช่นเดียวกัน กับตารางผลิตภัณฑ์ ให้ใช้หมายเลขผลิตภัณฑ์เป็นคีย์หลัก ความสัมพันธ์ระหว่างตารางเสริมนี้และ ตารางผลิตภัณฑ์จะเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง สำหรับแต่ละระเบียนในตารางผลิตภัณฑ์ นั้น จะมีระเบียนที่ตรงกันอยู่หนึ่งระเบียนในตารางเสริม เมื่อระบุความสัมพันธ์ดังกล่าว ตารางทั้ง สองตารางจะต้องมีเขตข้อมูลที่ใช้ร่วมกัน 

เมื่อตรวจพบความจำเป็ นที่ต้องใช้ความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่งใน ฐานข้อมูล ให้พิจารณาว่าสามารถนำข้อมูลจากตารางทั้งสองมาใส่ในตารางเดียวได้หรือไม่ ถ้าไม่ ต้องการทำเช่นนั้นด้วยเหตุผลบางอย่าง อาจเนื่องจากจะทำให้เกิดพื้นที่ว่างจำนวนมาก รายการ ต่อไปนี้แสดงวิธีที่จะใช้ความสัมพันธ์ในการออกแบบ คือ 

ถ้าตารางทั้งสองตารางนี้มีหัวเรื่องเดียวกัน อาจตั้งค่าความสัมพันธ์ด้วยการใช้ คีย์หลักเดียวกันในทั้งสองตาราง 

ถ้าตารางสองตารางมีหัวเรื่องที่ต่างกันและมีคีย์หลักที่ต่างกัน ให้เลือกตาราง หนึ่งตาราง (ตารางใดก็ได้) และแทรกคีย์หลักของตารางนั้นลงในอีกตารางหนึ่งเป็น Foreign Key 

การกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างตารางต่างๆ จะช่วยให้เกิดแน่ใจว่าเรามีตาราง และคอลัมน์ที่ถูกต้องแล้ว เมื่อมีความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่งหรือแบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่มอยู่ ตาราง ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องมีคอลัมน์ร่วมกันอย่างน้อยหนึ่งคอลัมน์ เมื่อมีความสัมพันธ์แบบกลุ่ม-ต่อ- กลุ่มอยู่ จะต้องมีตารางที่สามสำหรับแสดงความสัมพันธ์ดังกล่าว

1.9.6.2 การสร้างความสัมพันธ์แบบกลุ่ม -ต่อ-กลุ่ม

1.9.6.2 การสร้างความสัมพันธ์แบบกลุ่ม -ต่อ-กลุ่ม



ให้พิจารณาความสัมพันธ์ระหว่างตารางผลิตภัณฑ์และตารางใบสั่งซื้อ


ใบสั่งซื้อหนึ่งใบอาจมีผลิตภัณฑ์สินค้าได้มากกว่าหนึ่งรายการ ในทางตรงกัน ข้าม ผลิตภัณฑ์สินค้ารายการหนึ่งอาจปรากฏในใบสั่งซื้อได้หลายใบ ดังนั้นแต่ละระเบียนในตาราง ใบสั่งซื้อจึงอาจมีหลายระเบียนในตารางผลิตภัณฑ์ และในแต่ละระเบียนของตารางผลิตภัณฑ์ก็อาจ มีหลายระเบียนในตารางใบสั่งซื้อ ความสัมพันธ์เช่นนี้เรียกว่าความสัมพันธ์แบบกลุ่ม-ต่อ-กลุ่ม เนื่องจากผลิตภัณฑ์หนึ่งอาจอยู่ในใบสั่งซื้อหลายใบ และใบสั่งซื้อหนึ่งก็อาจมีผลิตภัณฑ์สินค้าหลาย รายการ ให้สังเกตว่าเมื่อต้องการตรวจหาความสัมพันธ์แบบกลุ่ม-ต่อ-กลุ่มในตาราง สิ่งสำคัญคือ ต้องพิจารณาความสัมพันธ์ของทั้งสองด้าน

หัวเรื่องของสองตาราง ได้แก่ ใบสั่งซื้อและผลิตภัณฑ์ มีความสัมพันธ์แบบ กลุ่ม-ต่อ-กลุ่ม ซึ่งเป็นปัญหา เมื่อต้องการที่จะเข้าใจปัญหาดังกล่าว ให้ลองนึกภาพว่าจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าจะพยายามสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสองตารางด้วยการเพิ่มเขตข้อมูลหมายเลขผลิตภัณฑ์ลงใน ตารางใบสั่งซื้อ เมื่อต้องการมีผลิตภัณฑ์มากกว่าหนึ่งรายการต่อใบสั่งซื้อหนึ่งใบ เราต้องใช้ระเบียน ในตารางใบสั่งซื้อมากกว่าหนึ่งระเบียนต่อใบสั่งซื้อหนึ่งใบ ต้องทำซ้ำแถวข้อมูลการสั่งซื้อแต่ละแถ ที่สัมพันธ์กับใบสั่งซื้อใบเดียว ผลที่ได้คือการออกแบบที่ขาดประสิทธิภาพซึ่งจะนำไปสู่ข้อมูลที่ไม่ ถูกต้อง ซึ่งจะพบปัญหาเดิมถ้าเอาเขตข้อมูล ID ใบสั่งซื้อไปใส่ในตารางผลิตภัณฑ์ เมื่อตาราง ผลิตภัณฑ์มีระเบียนสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละอย่างมากกว่าหนึ่งระเบียน จะแก้ปัญหานี้อย่างไร

คำตอบคือการสร้างตารางที่สามขึ้น ซึ่งมักจะเรียกว่าตารางเชื่อมต่อ (Junction table) ซึ่งจะแตกความสัมพันธ์แบบกลุ่ม-ต่อ-กลุ่มลงเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่มจำนวน สองความสัมพันธ์ ให้คุณแทรกคีย์หลักจากแต่ละตารางลงในตารางที่สาม ผลที่ได้คือตารางที่สามจะ บันทึกแต่ละรายการหรืออินสแตนซ์ของความสัมพันธ์ไว้
 
รูปที่ 1-19 ตารางเชื่อมต่อ (Junction table) คือตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อ


ระเบียนในตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อแต่ละระเบียนจะแทนรายการหนึ่ง บรรทัดของใบสั่งซื้อ คีย์หลักของตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อประกอบด้วยเขตข้อมูลสองเขต คือ Foreign Key จากตารางใบสั่งซื้อและตารางผลิตภัณฑ์ การใช้เขตข้อมูล ID ใบสั่งซื้ออย่างเดียว ไม่เพียงพอที่จะเป็ นคีย์หลักของตารางนี้ เนื่องจากใบสั่งซื้อหนึ่งใบสามารถมีรายการได้หลายบรรทัด ID ใบสังซือจะซำกนทุกบรรทัดของใบสังซือ ่ ้ ้ ั ่ ้ ดังนั้นเขตข้อมูลนี้จึงมีค่าซ้ำกัน การใช้เขต ข้อมูล หมายเลขผลิตภัณฑ์อย่างเดียวก็ไม่เพียงพอเช่นกัน เนื่องจากผลิตภัณฑ์สินค้าหนึ่งรายการอาจ ปรากฏในใบสั่งซื้อหลายต่อหลายใบ แต่ถ้าใช้พร้อมกันทั้งสองเขตข้อมูลก็จะให้ค่าที่ไม่ซ้ำกันสำหรั แต่ละระเบียน

ในฐานข้อมูลยอดขายผลิตภัณฑ์นั้น ตารางใบสั่งซื้อและตารางผลิตภัณฑ์จะไม่ สัมพันธ์กันและกันโดยตรง แต่จะสัมพันธ์กันโดยอ้อมผ่านตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อ ความสัมพันธ์แบบกลุ่ม-ต่อ-กลุ่มระหว่างใบสั่งซื้อและผลิตภัณฑ์จะแสดงอยู่ในฐานข้อมูลโดยใช้ ความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม จำนวนสองความสัมพันธ์คือ

ตารางใบสั่งซื้อและตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อมีความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ- กลุ่ม ใบสั่งซื้อแต่ละใบสามารถมีรายการบรรทัดได้มากกว่าหนึ่งรายการ แต่รายการบรรทัดแต่ละ รายการจะเชื่อมต่อกับใบสั่งซื้อเพียงหนึ่งใบเท่านั้น

ตารางผลิตภัณฑ์และตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อมีความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ- กลุ่ม ผลิตภัณฑ์แต่ละรายการสามารถมีบรรทัดรายการหลายบรรทัดที่สัมพันธ์อยู่ด้วยกัน แต่บรรทัด ของรายการแต่ละบรรทัดจะอ้างอิงถึงผลิตภัณฑ์เพียงหนึ่งรายการเท่านั้น

จากตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อ คุณสามารถกำหนดให้มีผลิตภัณฑ์ทั้งหมดใน ใบสั่งซื้อเฉพาะใบ นอกจากนี้คุณยังสามารถกำหนดให้ใบสั่งซื้อทุกใบมีผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง โดยเฉพาะได้

หลังจากรวมตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อแล้ว รายการของตารางและเขตข้อมูล อาจมีลักษณะดังต่อไปนี้ 
 
รูปที่ 1-20  รายการของตารางและเขตข้อมูล เมื่อมีตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อ

1.9.6.1. การสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม

1.9.6.1. การสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม


ให้พิจารณาตัวอย่างนี้ ในฐานข้อมูลการสั่งซื้อสินค้ามีตารางผู้จำหน่ายและ ตารางผลิตภัณฑ์ เนื่องจากผู้จำหน่ายหนึ่งรายในตารางผู้จำหน่ายสามารถผลิตสินค้าจำนวนเท่าใดก็ ได้ ดังนั้นผู้จำหน่ายจึงมีผลิตภัณฑ์หลายรายการในตารางผลิตภัณฑ์ ความสัมพันธ์ระหว่างตารางผู้ จำหน่ายและตารางผลิตภัณฑ์จึงเป็นความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม 
 
รูปที่ 1-17 ความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม


เมื่อต้องการแสดงความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่มในการออกแบบฐานข้อมูล ให้ใช้คีย์หลักที่ด้าน “หนึ่ง” ของความสัมพันธ์ แล้วเพิ่มคีย์หลักนั้นเข้าไปเป็นอีกคอลัมน์หรือหลาย คอลัมน์ในตารางของด้าน “กลุ่ม” ของความสัมพันธ์ ตัวอย่างเช่น ในกรณีนี้ เราเพิ่มคอลัมน์ ID ผู้ จำหน่ายจากตารางผู้จำหน่ายลงในตารางผลิตภัณฑ์ จากนั้น Access 2007 จึงสามารถใช้ ID ผู้ จำหน่ายในตารางผลิตภัณฑ์ระบุตำแหน่งของผู้จำหน่ายที่ถูกต้องของผลิตภัณฑ์แต่ละอย่าง 

คอลัมน์ ID ผู้จำหน่ายในตารางผลิตภัณฑ์เรียกว่า Foreign Key ซึ่งเป็นคีย์หลัก ของอีกตารางหนึ่ง คอลัมน์ ID ผู้จำหน่ายในตารางผลิตภัณฑ์เป็น Foreign Key เนื่องจากคอลัมน์นี้ เป็นคีย์หลักในตารางผู้จำหน่ายด้วย

 
รูปที่ 1-18 ความสัมพันธ์กันระหว่างคีย์หลักกับ Foreign Key


เมื่อรวมตารางที่สัมพันธ์กันด้วยการจับคู่ระหว่างคีย์หลักกับ Foreign Key ถ้าไม่ แน่ใจว่าตารางใดควรใช้คอลัมน์ร่วมกัน การระบุความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่มจะทำให้แน่ใจว่า ตารางสองตารางที่เกี่ยวข้องกันนั้นต้องใช้คอลัมน์ร่วมกันจริง

1.9.6 การสร้างความสัมพันธ์ของตาราง

1.9.6 การสร้างความสัมพันธ์ของตาราง



ตอนนี้เราได้แบ่งข้อมูลออกเป็นตารางต่าง ๆ แล้ว และต้องการวิธีที่จะนำข้อมูลมา รวมกันอีกครั้งได้อย่างเหมาะสม ตัวอย่างเช่น ฟอร์มต่อไปนี้มีข้อมูลจากหลายตาราง คือ

1. ตารางลูกค้า

2. ตารางพนักงาน

3. ตารางใบสั่งซื้อ

4. ตาราง ผลิตภัณฑ์

5. ตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อ


รูปที่ 1-16 รายละเอียดใบสั่งซื้อสินค้า

Access 2007 เป็นระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ ในฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ แบ่ง ข้อมูลออกเป็นตารางตามหัวเรื่องแยกจากกัน จากนั้นใช้ความสัมพันธ์ของตารางนำข้อมูลมารวมกัน ตามต้องการ

1.9.5 การระบุคีย์หลัก

1.9.5 การระบุคีย์หลัก



ในแต่ละตารางควรจะมีคอลัมน์หรือชุดของคอลัมน์ที่ระบุแต่ละแถวที่เก็บอยู่ใน ตารางโดยไม่ซ้ำกัน ซึ่งมักจะเป็นหมายเลขการระบุที่ไม่ซ้ำกัน เช่น หมายเลข ID พนักงาน หรือ หมายเลขผลิตภัณฑ์ ในเชิงศัพท์เกี่ยวกับฐานข้อมูลนั้น ข้อมูลนี้จะมีชื่อเรียกว่า คีย์หลัก ของตาราง ซึ่ง Access 2007 จะใช้เขตข้อมูลคีย์หลักในการเชื่อมโยงข้อมูลจากตารางหลายตารางอย่างรวดเร็ว แล้วนำข้อมูลเหล่านี้มารวมกันให้

ถ้ามีตัวระบุที่ไม่ซ้ำกันสำหรับตารางนั้นแล้ว เช่น หมายเลขผลิตภัณฑ์ซึ่งระบุ ผลิตภัณฑ์ในแค็ตตาล็อกโดยไม่ซ้ำกัน เราสามารถใช้ตัวระบุนั้นเป็นคีย์หลักของตารางได้ แต่มีเงื่อนไขว่าค่าในคอลัมน์นี้ต้องไม่เหมือนกันในทุกระเบียนเสมอ เราไม่สามารถมีค่าซ้ำกันในคีย์หลั ได้ ตัวอย่างเช่น ไม่ใช้ชื่อคนเป็นคีย์หลักเนื่องจากชื่ออาจซ้ำกันได้ เป็นเรื่องง่ายที่จะมีคนสองคนซึ่ง ชื่อเหมือนกันในตารางเดียวกัน

คีย์หลักต้องมีค่าเสมอ ถ้าค่าของคอลัมน์นั้นไม่มีหรือไม่ทราบค่า (ค่าที่หายไป) จะไม่ สามารถใช้เป็นส่วนหนึ่งของคีย์หลักได้

ควรเลือกคีย์หลักที่ค่าจะไม่เปลี่ยน ในฐานข้อมูลที่ใช้มากกว่าหนึ่งตาราง คีย์หลักของ ตารางสามารถใช้เป็นการอ้างอิงในตารางอื่นได้ ถ้าคีย์หลักเปลี่ยนแปลง การเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีผล กับทุกแห่งที่อ้างอิงคีย์นั้น การใช้คีย์หลักที่ไม่เปลี่ยนแปลงจะลดโอกาสที่คีย์หลักอาจไม่เปลี่ยนให้ ตรงกันกับตารางอื่นที่อ้างถึงคีย์หลักนั้น

บ่อยครั้งที่จะมีการใช้หมายเลขที่ไม่ซ้ำกันเป็นคีย์หลัก ตัวอย่างเช่น อาจกำหนด หมายเลขใบสั่งซื้อที่ไม่ซ้ำกันให้กับการสั่งซื้อแต่ละครั้ง วัตถุประสงค์เดียวของหมายเลขใบสั่งซื้อนี้ คือ เพื่อระบุใบสั่งซื้อแต่ละใบ เมื่อมีการกำหนดแล้ว หมายเลขนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง

ถ้าไม่มีคอลัมน์หรือชุดคอลัมน์ในใจที่อาจเป็นคีย์หลักที่ดีแล้วล่ะก็ ให้ลองพิจารณา ใช้คอลัมน์ที่มีชนิดข้อมูลเป็น AutoNumber เมื่อคุณใช้ชนิดข้อมูล AutoNumber โปรแกรม Access 2007 จะกำหนดค่าให้คุณโดยอัตโนมัติ ตัวระบุเช่นนี้ไม่มีความหมาย ไม่ได้มีข้อมูลข้อเท็จจริงที่ใช้ อธิบายแถวที่ระบุ ตัวระบุที่ไม่มีความหมายนี้เหมาะจะใช้เป็นคีย์หลักเพราะไม่มีการเปลี่ยนแปลงค่า คีย์หลักที่มีข้อเท็จจริงเกี่ยวกับแถว ตัวอย่างเช่น หมายเลขโทรศัพท์ หรือชื่อลูกค้า มีโอกาสที่จะ เปลี่ยน เพราะตัวข้อเท็จจริงเองนั้นอาจเปลี่ยนแปลงได้

 
รูปที่ 1-14 การกำหนดคีย์หลัก

จากรูป มีอยู่บ่อยครั้งที่คอลัมน์ที่ตั้งค่าเป็นชนิดข้อมูล AutoNumber มักจะสามารถใช้ เป็นคีย์หลักที่ดีได้ เนื่องจากไม่มีหมายเลขผลิตภัณฑ์ที่ตรงกันสองรายการ

ในบางกรณี อาจต้องการใช้เขตข้อมูลอย่างน้อยสองเขตข้อมูลร่วมกันเป็นคีย์หลัก ของตาราง ตัวอย่างเช่น ตารางรายละเอียดใบสั่งซื้อที่เก็บรายการใบสั่งซื้อควรใช้สองคอลัมน์เป็นคีย์ หลัก ได้แก่ ID ใบสั่งซื้อและหมายเลขผลิตภัณฑ์ เมื่อมีการใช้คีย์หลักมากกว่าหนึ่งคอลัมน์ จะ เรียกว่า คีย์ผสม

สำหรับฐานข้อมูลยอดขายผลิตภัณฑ์ สามารถสร้างคอลัมน์ AutoNumber สำหรับแต่ ละตารางเพื่อใช้เป็นคีย์หลักได้ ได้แก่ หมายเลขผลิตภัณฑ์สำหรับตารางผลิตภัณฑ์ ID ใบสั่งซื้อ สำหรับตารางใบสั่งซื้อ ID ประจำตัวลูกค้าสำหรับตารางลูกค้า และ ID ผู้จำหน่ายสำหรับตารางผู้ จำหน่าย


รูปที่ 1-15 สร้างคอลัมน์ AutoNumber สำหรับแต่ละตารางเพื่อใช้เป็นคีย์หลักได้

1.9.4 การเปลี่ยนรายการข้อมูลให้เป็นคอลัมน์

1.9.4 การเปลี่ยนรายการข้อมูลให้เป็นคอลัมน์



เมื่อต้องการกำหนดคอลัมน์ในตาราง ให้พิจารณาว่าต้องการข้อมูลใดบ้างในการ ติดตามเกี่ยวกับหัวเรื่องที่บันทึกในตาราง ตัวอย่างเช่น สำหรับตารางลูกค้านั้น คอลัมน์ต่าง ๆ ได้แก่ ชื่อ ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ ส่งอีเมล คำขึ้นต้นจดหมาย และที่อยู่อีเมล จะเป็นรายการคอลัมน์เริ่มต้นที่ดี แต่ละระเบียนในตารางจะมีคอลัมน์ชุดเดียวกัน ดังนั้นคุณจะสามารถเก็บข้อมูลชื่อ ที่อยู่ รหัสไปรษณีย์ ส่งอีเมล คำขึ้นต้นจดหมาย และที่อยู่อีเมลสำหรับแต่ละระเบียนได้ ตัวอย่างเช่น ใน คอลัมน์ที่อยู่จะมีข้อมูลที่อยู่ของลูกค้า แต่ละระเบียนจะประกอบด้วยข้อมูลเกี่ยวกับลูกค้าหนึ่งราย และเขตข้อมูลที่อยู่จะประกอบด้วยที่อยู่ของลูกค้ารายนั้น
เมื่อได้กำหนดชุดของคอลัมน์เริ่มต้นสำหรับตารางแต่ละตารางได้แล้ว สามารถ ปรับปรุงรายการคอลัมน์ได้อีก ตัวอย่างเช่น เป็นเรื่องที่ดีที่จะเก็บชื่อลูกค้าแยกเป็นสองคอลัมน์ คือ ชื่อและนามสกุล เพื่อให้สามารถเรียงลำดับ ค้นหา หรือทำดัชนีของคอลัมน์เหล่านั้นได้ ในทำนอง เดียวกัน จริงๆ แล้วที่อยู่ประกอบด้วยคอมโพเนนต์ที่แยกได้ 5 ส่วน คือ บ้านเลขที่-ถนน เมือง รัฐ รหัสไปรษณีย์ และประเทศ/ภูมิภาค และเป็นเรื่องสมควรที่จะเก็บคอลัมน์แยกกัน ตัวอย่างเช่น ถ้า ต้องการดำเนินการค้นหา กรอง หรือเรียงลำดับตามจังหวัด จำเป็นต้องใช้ข้อมูลจังหวัดซึ่งเก็บในอีก คอลัมน์ต่างหาก 

นอกจากนี้ ยังควรพิจารณาว่าฐานข้อมูลจะบรรจุเฉพาะข้อมูลที่มาจากแหล่ง ภายในประเทศเพียงอย่างเดียว หรือเก็บข้อมูลที่มาจากแหล่งต่างประเทศด้วย เช่น ถ้าวางแผนที่จะ เก็บที่อยู่ในต่างประเทศ ควรจะมีคอลัมน์ภูมิภาคแทนคอลัมน์รัฐ เนื่องจากคอลัมน์ดังกล่าวสามารถ บันทึกได้ทั้งข้อมูลรัฐภายในประเทศ และภูมิภาคของประเทศ/ภูมิภาคอื่น ๆ อีกทั้งรหัสไปรษณีย์ยัง เหมาะสมกว่ารหัสประจำรัฐ ถ้าคิดจะเก็บข้อมูลที่อยู่ต่างประเทศด้วย 

รายการต่อไปนี้จะแสดงเคล็ดลับสองสามประการในการกำหนดคอลัมน์

1. ไม่ควรรวมข้อมูลจากการคำนวณ ไม่ควรเก็บผลลัพธ์ของการคำนวณไว้ใน ตาราง แต่สามารถให้ Access 2007 ทำการคำนวณได้เมื่อต้องการดูผลลัพธ์ ตัวอย่างเช่น สมมติว่ามี รายงานผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อซึ่งแสดงผลรวมย่อยของจำนวนที่สั่งซื้อสำหรับผลิตภัณฑ์แต่ละประเภท ในฐานข้อมูล อย่างไรก็ตาม จะไม่มีคอลัมน์ผลรวมย่อยจำนวนที่สั่งซื้ออยู่ในตาราง แต่ตารางผลิตภัณฑ์จะมีคอลัมน์จำนวนที่สั่งซื้อซึ่งเก็บข้อมูลจำนวนหน่วยของแต่ละผลิตภัณฑ์ในใบสั่งซื้อไว้ Access 2007 จะใช้ข้อมูลดังกล่าวในการคำนวณผลรวมย่อย เมื่อคุณพิมพ์รายงานในแต่ละครั้ง และ ผลรวมย่อยเองไม่ควรจะถูกเก็บอยู่ในตาราง

2. เก็บข้อมูลในส่วนตรรกะที่เล็กที่สุด ถ้าอยากมีเขตข้อมูลหนึ่งเขตสำหรับชื่อ เต็ม หรือชื่อผลิตภัณฑ์ควบคู่ไปกับรายละเอียดผลิตภัณฑ์ ใส่ข้อมูลมากกว่าหนึ่งชนิดลงในลงในเขต ข้อมูลหนึ่งเขต จะทำให้ยากต่อการดึงข้อมูลแต่ละชนิดออกมาในภายหลัง ให้ลองแตกย่อยข้อมูลลง เป็นหน่วยเชิงตรรกะ เช่น สร้างเขตข้อมูลเฉพาะสำหรับชื่อและอีกเขตหนึ่งสำหรับนามสกุล หรือ สำหรับชื่อผลิตภัณฑ์ ประเภท และคำอธิบาย 
 

รูปที่ 1-13 การแตกย่อยข้อมูลลงเป็นหน่วยเชิงตรรกะ

เมื่อคุณปรับปรุงคอลัมน์ข้อมูลในแต่ละตารางเรียบร้อยแล้ว คุณก็พร้อมที่จะเลือกคีย์หลักของตารางแต่ละตาราง

1.9.3 การแบ่งข้อมูลลงในตารางต่าง ๆ

1.9.3 การแบ่งข้อมูลลงในตารางต่าง ๆ


เมื่อต้องการแบ่งข้อมูลลงในตาราง ให้เลือกข้อมูลเฉพาะตัวหรือเรื่องสำคัญ ตัวอย่างเช่น หลังจากค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลสำหรับฐานข้อมูลการขายสินค้าแล้ว รายการ เบื้องต้นอาจเป็นดังนี้
 
รูปที่ 1-11 การแบ่งข้อมูลเฉพาะตัวหรือเรื่องสำคัญลงในตาราง


ข้อมูลเฉพาะตัวที่สำคัญซึ่งแสดงในที่นี้ได้แก่ ผลิตภัณฑ์ ผู้จำหน่าย ลูกค้า และใบสั่ง ซื้อ ดังนั้น จึงสมควรเริ่มต้นด้วยตาราง 4 ตาราง คือ ตารางหนึ่งสำหรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ ตารางหนึ่งสำหรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้จำหน่าย ตารางหนึ่งสำหรับข้อเท็จจริงเกี่ยวกับลูกค้า และ ตารางหนึ่งสำหรับใบสั่งซื้อ ถึงแม้ว่าทั้งหมดนี้จะไม่ใช่รายการที่ครบถ้วน แต่ก็เป็นจุดเริ่มต้นที่ดี สามารถปรับปรุงรายการนี้ต่อจนกว่าจะมีการออกแบบที่ทำงานได้ดี 

เมื่อได้ตรวจทานรายการสิ่งต่าง ๆ ขั้นต้นเป็นครั้งแรก เราอาจอยากใส่รายการ ทั้งหมดลงในตารางเดียวแทนที่จะเป็นสี่ตารางดังที่แสดงภาพประกอบไว้ก่อนหน้า จะได้เรียนรู้ว่า ทำไมการทำเช่นนั้นจึงไม่ใช่ความคิดที่ดี ลองพิจารณาตารางที่แสดงต่อไปนี้
 
รูปที่ 1-12 ตัวอย่างการใส่รายการทั้งหมดลงในตารางเดียว


ในกรณีนี้ แต่ละแถวมีข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และผู้จำหน่ายผลิตภัณฑ์นั้น เนื่องจาก เราสามารถมีผลิตภัณฑ์หลายอย่างจากผู้จำหน่ายรายเดียวกัน ชื่อและที่อยู่ผู้จำหน่ายจึงปรากฏซ้ำหลา ครั้ง ทำให้เปลืองเนื้อที่ดิสก์ การบันทึกข้อมูลผู้จำหน่ายเพียงครั้งเดียวในตารางผู้จำหน่าย ซึ่งแยก ต่างหากแล้วเชื่อมโยงมายังตารางผลิตภัณฑ์ จึงเป็นวิธีแก้ปัญหาที่ดีกว่า 

ปัญหาที่สองของการออกแบบนี้เกิดขึ้น เมื่อต้องการปรับเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับผู้ จำหน่าย ตัวอย่างเช่น สมมติว่าต้องการเปลี่ยนที่อยู่ของผู้จำหน่าย เนื่องจากที่อยู่ปรากฏในหลายแห่ง เราอาจเปลี่ยนที่อยู่ในรายการหนึ่งแล้วลืมเปลี่ยนอีกรายการโดยไม่ได้ตั้งใจ การบันทึกที่อยู่ของผู้ จำหน่ายไว้ในที่เดียวจะแก้ปัญหานี้ 

เมื่อออกแบบฐานข้อมูล ให้พยายามบันทึกข้อเท็จจริงแต่ละอย่างเพียงครั้งเดียวเสมอ ถ้าพบว่าตัวเองเก็บข้อมูลเดียวกันซ้ำมากกว่าหนึ่งแห่ง เช่น ที่อยู่ของผู้จำหน่ายรายหนึ่ง ให้เก็บข้อมูล ในตารางที่แยกต่างหาก

สุดท้าย สมมติว่ามีเพียงผลิตภัณฑ์เดียวที่ Coho Winery จำหน่าย และต้องการลบ ผลิตภัณฑ์นั้นแต่ต้องการเก็บข้อมูลชื่อผู้จำหน่ายและที่อยู่ไว้ เราจะลบระเบียนผลิตภัณฑ์โดยไม่ สูญเสียข้อมูลผู้จำหน่ายได้อย่างไร คำตอบคือทำไม่ได้ เพราะว่าระเบียนแต่ละระเบียนมีข้อเท็จจริง เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์และเกี่ยวกับผู้จำหน่ายด้วย เราไม่สามารถลบอย่างหนึ่งโดยไม่ลบอีกอย่างได้ ถ้า ต้องการเก็บข้อเท็จจริงเหล่านี้แยกจากกัน ต้องแบ่งตารางออกเป็นสองตาราง คือ ตารางหนึ่งสำหรับข้อมูลผลิตภัณฑ์ และอีกตารางสำหรับข้อมูลผู้จำหน่าย การลบระเบียนของผลิตภัณฑ์ควรลบแค่ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เท่านั้น ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้จำหน่าย

เมื่อได้เลือกเรื่องที่จะแทนด้วยตารางแล้ว คอลัมน์ในตารางนั้นควรเก็บเฉพาะ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับเรื่องนั้นเท่านั้น ตัวอย่างเช่น ตารางผลิตภัณฑ์ควรเก็บเฉพาะข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ เนื่องจากที่อยู่ของผู้จำหน่ายเป็นข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้จำหน่าย ไม่ใช่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับ ผลิตภัณฑ์ ดังนั้นต้องอยู่ในตารางผู้จำหน่าย

1.9.2 การค้นหาและการจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการ

1.9.2 การค้นหาและการจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการ



เมื่อต้องการค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการ ให้เริ่มต้นกับข้อมูลที่มีอยู่เป็น อันดับแรก เช่น บันทึกใบสั่งซื้อในบัญชี หรือเก็บข้อมูลลูกค้าในแบบฟอร์มกระดาษไว้ในแฟ้ ม เอกสาร ให้รวบรวมเอกสารเหล่านี้ แล้วทำรายการชนิดของข้อมูล (ตัวอย่างเช่น แต่ละช่องที่กรอก ลงในฟอร์ม) ถ้าไม่มีฟอร์มใด ๆ อยู่ ให้ลองจินตนาการแทนว่ากำลังออกแบบฟอร์มสำหรับการ บันทึกข้อมูลลูกค้า ต้องคิดว่าจะใส่ข้อมูลอะไรลงในฟอร์มนี้ จะสร้างกล่องสำหรับกรอกข้อมูล อะไรบ้าง ให้ระบุและจดบันทึกรายการเหล่านี้แต่ละรายการไว้ ตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณเก็บรายชื่อ ลูกค้าไว้ในบัตรดัชนี ให้สำรวจบัตรดัชนีเหล่านี้ว่าในบัตรอาจจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับชื่อลูกค้า ที่อยู่เมือง รัฐ รหัสไปรษณีย์ และหมายเลขโทรศัพท์ โดยสามารถใช้รายการเหล่านี้แต่ละรายการในการ สร้างคอลัมน์ในตารางได้
ในระหว่างที่กำลังเตรียมรายการนี้อยู่ ไม่ต้องเป็นกังวลว่าจะต้องทำให้ได้สมบูรณ์ แบบในครั้งแรก ให้แจกแจงแต่ละรายการเท่าที่นึกได้ ถ้าจะมีบุคคลอื่นใช้ฐานข้อมูลนี้ด้วย ให้ลอง ถามความคิดเห็นจากบุคคลเหล่านั้นดู ซึ่งสามารถปรับรายการให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ในภายหลัง 

ในขั้นต่อไป ให้พิจารณาชนิดของรายงานหรือการส่งจดหมายที่ต้องการสร้างขึ้นโดย ใช้ฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น ต้องการรายงานการขายของผลิตภัณฑ์ เพื่อแสดงยอดขายตามภูมิภาค หรือรายงานสรุปสินค้าคงคลังที่แสดงระดับสินค้าคงคลัง นอกจากนี้ ถ้าต้องการสร้างจดหมาย แบบฟอร์มสำหรับส่งถึงลูกค้าเพื่อประกาศกิจกรรมการขายหรือนำเสนอข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ให้ ออกแบบรายงานนี้ไว้ในใจ แล้วจินตนาการว่ารายงานจะมีรูปลักษณ์อย่างไร จะใส่ข้อมูลอะไรบ้าง ลงในรายงาน ให้จดแต่ละรายการไว้ แล้วทำเช่นเดียวกันนี้สำหรับจดหมายแบบฟอร์มและสำหรับ รายงานอื่น ๆ ที่จะสร้างขึ้น 

 
รูปที่ 1-10 การวางแผนค้นหาและจัดระเบียบข้อมูล


เมื่อคิดถึงรายงานและการส่งจดหมายที่ต้องการสร้าง จะเป็นการช่วยให้การระบุ รายการต่าง ๆ ที่ต้องการให้มีในฐานข้อมูลได้ เช่น ถ้าเปิ ดโอกาสให้ลูกค้าสามารถขอรับหรือขอ ยกเลิกการรับข้อมูลล่าสุดทางอีเมลเป็นประจำ และต้องการพิมพ์รายชื่อลูกค้าที่ต้องการสมัครรับ ข้อมูล เมื่อต้องการบันทึกข้อมูลดังกล่าวไว้ ให้เพิ่มคอลัมน์ “ส่งอีเมล” ลงในตารางลูกค้า และให้ สามารถตั้งค่าเขตข้อมูลเป็น ใช่ หรือ ไม่ใช่ ให้กับลูกค้าแต่ละรายได้ 

ข้อกำหนดในการส่งข้อความอีเมลถึงลูกค้าเป็นอีกรายการหนึ่งที่ต้องบันทึกไว้ เมื่อ ทราบว่าลูกค้าต้องการรับข้อความอีเมล จำเป็นที่จะต้องทราบที่อยู่อีเมลสำหรับการส่งข้อความอีเมล เหล่านี้ ดังนั้นจึงต้องบันทึกที่อยู่อีเมลของลูกค้าแต่ละรายไว้ด้วย
เป็นเรื่องสมเหตุสมผลที่จะสร้างแบบตัวอย่างของรายงานหรือรายการผลลัพธ์ แล้ว พิจารณาว่ารายการใดที่ต้องการสร้างเป็นรายงาน ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการตรวจสอบฟอร์มจดหมาย อาจทำให้นึกอะไรได้หลายอย่าง ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการใส่คำทักทายที่เหมาะสม ต้องสร้างรายการ คำทักทายด้วยสตริงที่เริ่มคำขึ้นต้นจดหมายว่า “คุณ” หรือ “Mr.” “Mrs.” หรือ “Ms.” และอาจเริ่มต้น จดหมายแบบทั่วไปด้วย “เรียน คุณศักด์ิสิทธ์ิ” แทนที่จะเป็น “เรียน คุณศักด์ิสิทธ์ิ วัชรารัตน์” หรือ “Dear Mr. Saksit” แทนที่จะเป็น “Dear Mr. Saksit Watchararat” ดังนี้จึงรู้ว่าควรเก็บชื่อกับนามสกุล ไว้แยกกนั 

ประเด็นสำคัญที่ต้องจำคือ ควรแตกข้อมูลให้เป็นส่วนเล็กที่สุดที่มีประโยชน์ ในกรณี ของชื่อ เพื่อทำให้นามสกุลพร้อมใช้งานได้ ควรแบ่งชื่อออกเป็นสองส่วน คือชื่อกับนามสกุล ตัวอย่างเช่น เมื่อต้องการเรียงลำดับตามนามสกุล การแบ่งเช่นนี้จะทำให้นามสกุลของลูกค้าถูกเก็บ แยกต่างหาก โดยทั่วไป ถ้าต้องการเรียงลำดับ ค้นหา คำนวณ หรือรายงานโดยยึดตามข้อมูลรายการ หนึ่งแล้ว ควรเก็บข้อมูลรายการนั้นในเขตข้อมูลของตัวเอง 

ลองนึกถึงคำถามที่ต้องการให้ฐานข้อมูลตอบ ตัวอย่างเช่น มีรายการขายของ ผลิตภัณฑ์เด่นที่ปิ ดรายการขายได้เมื่อเดือนที่แล้วกี่รายการ ลูกค้าดีที่สุดอาศัยอยู่ที่ไหน ใครเป็นผู้ จำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่ขายดีที่สุด การคิดคำถามเหล่านี้ล่วงหน้าจะช่วยให้ไม่ต้องเพิ่มรายการใน ระเบียน

1.9.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูล

1.9.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูล



เป็นการดีที่จะเขียนวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูลลงบนกระดาษ ได้แก่ การคาดหวังว่า จะใช้ฐานข้อมูลอย่างไร และใครจะเป็นผู้ใช้ ตัวอย่างเช่น ฐานข้อมูลขนาดเล็ก สำหรับธุรกิจระดับ ครอบครัว อาจเขียนทำนองว่า “ฐานข้อมูลลูกค้ามีไว้เก็บรายการข้อมูลลูกค้า เพื่อวัตถุประสงค์ใน การออกจดหมายและรายงาน” ถ้าฐานข้อมูลซับซ้อนขึ้นหรือมีผู้ใช้หลายคน ดังที่เกิดขึ้นอยู่บ่อย ๆ ในองค์กร วัตถุประสงค์อาจยาวเป็นย่อหน้าหรือหลายย่อหน้า และควรจะบอกว่าใครจะใช้ ฐานข้อมูล เมื่อใดหรืออย่างไร แนวคิดก็คือว่า เขียนพันธกิจที่เรียบเรียงไว้ดีแล้วนั้น จะสามารถใช้ อ้างถึงได้ตลอดกระบวนการออกแบบ การมีบันทึกดังกล่าวจะช่วยให้จดจ่อกับจุดมุ่งหมายเมื่อ กระทำการตัดสินใจในกรณีต่าง ๆ

1.9 กระบวนการออกแบบ

1.9 กระบวนการออกแบบ



กระบวนการออกแบบประกอบด้วยขั้นตอนต่อไปนี้

1. กำหนดวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูล

2. ค้นหาและจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการ รวบรวมข้อมูลทุกชนิดที่ต้องการบันทึกลง ในฐานข้อมูล เช่น ชื่อผลิตภัณฑ์และหมายเลขใบสั่งซื้อ

3. แบ่งข้อมูลลงในตารางต่าง ๆ แบ่งรายการข้อมูลออกเป็นกลุ่มหรือหัวเรื่องหลัก ๆ เช่น ผลิตภัณฑ์ หรือใบสั่งซื้อ จากนั้นแต่ละหัวเรื่องจะถูกนำมาทำเป็นตาราง

4. เปลี่ยนรายการของข้อมูลให้เป็นคอลัมน์ตาง ่ ๆ ตัดสินใจวาต้องการเกบข้อมูลอะไร ่ ็ ในตารางแต่ละตาราง รายการแต่ละรายการจะกลายเป็นเขตข้อมูล และแสดงเป็นคอลัมน์ในตาราง ตัวอย่างเช่น ตารางพนักงานอาจมีเขตข้อมูลเช่น นามสกุล และวันที่จ้างงาน

5. ระบุคีย์หลัก เลือกคีย์หลักของตารางแต่ละตาราง คีย์หลัก คือคอลัมน์ที่ใช้เพื่อระบุ แต่ละแถวแบบไม่ซ้ำกัน ตัวอย่างเช่น หมายเลขผลิตภัณฑ์ หรือ ID ใบสั่งซื้อ

6. กำหนดความสัมพันธ์ของตาราง ดูที่ตารางแต่ละตารางแล้วพิจารณาว่าข้อมูลใน ตารางหนึ่งสัมพันธ์กับข้อมูลในตารางอื่น ๆ อย่างไร ให้เพิ่มเขตข้อมูลลงในตารางหรือสร้างตาราง ใหม่เพื่อระบุความสัมพันธ์ต่าง ๆ ให้ชัดเจนตามต้องการ

7. การปรับการออกแบบให้ดียิ่งขึ้น วิเคราะห์การออกแบบ เพื่อหาข้อผิดพลาด สร้าง ตารางแล้วเพิ่มระเบียนข้อมูลตัวอย่างสองสามระเบียน ให้ดูว่าจะได้รับผลลัพธ์ที่ต้องการจากตาราง นั้นหรือไม่ แล้วปรับเปลี่ยนการออกแบบตามต้องการ

8. การใช้กฎ Normalization ใช้กฎ Normalization ข้อมูลเพื่อดูว่าตารางมีโครงสร้างที่ ถูกต้องหรือไม่ ปรับเปลี่ยนการออกแบบได้ เมื่อจำเป็น

1.8 หลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี

1.8 หลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี



ในกระบวนการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี นั้น มีหลักการบางอย่างเป็ นแนวทางในการ ดำเนินการ ดังนี้

1. ข้อมูลซ้ำ หรือที่เรียกว่าข้อมูลซ้ำซ้อน ไม่ใช่สิ่งที่ดี เนื่องจากเปลืองพื้นที่และอาจทำ ให้มีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นรวมถึงเกิดความไม่สอดคล้องกัน 

2. ความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญ ถ้าฐานข้อมูลมีข้อมูลที่ไม่ ถูกต้อง รายงานต่างๆ ที่ดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลจะมีข้อมูลที่ไม่ถูกต้องตามไปด้วย ส่งผลให้การ ตัดสินใจต่าง ๆ ที่ได้กระทำโดยยึดตามรายงานเหล่านั้นจะไม่ถูกต้องด้วยเช่นกัน 

ดังนั้น หลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี คือ 

1. แบ่งข้อมูลของคุณลงในตารางต่าง ๆ ตามหัวเรื่องเพื่อลดการซ้ำซ้อนกันของข้อมูล

2. ใส่ข้อมูลที่จำเป็นลงใน Access เพื่อรวมข้อมูลในตารางต่างๆ เข้าด้วยกันตาม ต้องการ 

3. ช่วยสนับสนุนและรับประกันความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูล 

4. ตอบสนองต่อความต้องการในการประมวลผลข้อมูลและการรายงาน

1.7 สเปคของโครงการใน Access 2007

1.7 สเปคของโครงการใน Access 2007


รายการเฉพาะในโครงการฐานข้อมูล Access 2007 มีสเปคของโครงการ ดังนี้

ตารางที่ 1-7 สเปคทั่วไป
 

ตารางที่ 1-8  สเปคฟอร์มและรายงาน
 

ตารางที่ 1-9  สเปคแมโคร


1.6 สเปคของฐานข้อมูลใน Access 2007

1.6 สเปคของฐานข้อมูลใน Access 2007



รายการเฉพาะในฐานข้อมูล Access 2007 มีสเปคของฐานข้อมูล ดังตารางต่อไปนี้

ตารางที่ 1-2  สเปคทั่วไป
 

ตารางที่ 1-3  สเปคตาราง


ตารางที่ 1-4  สเปคแบบสอบถาม

ตารางที่ 1-5 สเปคฟอร์มและรายงาน

ตารางที่ 1-6  สเปคแมโคร


1.5.6 โมดูล (Modules)

1.5.6 โมดูล (Modules)



โมดูล (คล้ายแมโคร) เป็นวัตถุที่สามารถใช้เพื่อเพิ่มหน้าที่การใช้งานให้กับฐานข้อมูล ได้ ขณะที่สร้างแมโครใน Access 2007 ด้วยการเลือกจากรายการแอคชันของแมโคร แต่จะสามารถ เขียนโมดูลได้ในภาษาการเขียนโปรแกรม Visual Basic for Applications (VBA) (Visual Basic สำหรับ Applications (VBA): รุ่นภาษาแมโครของ Microsoft Visual Basic ที่นำมาใช้เพื่อตั้ง โปรแกรมให้กับโปรแกรมประยุกต์ของ Microsoft Windows และรวมอยู่ในโปรแกรมต่าง ๆ ของ ไมโครซอฟท์) โมดูลเป็นคอลเลกชันของการประกาศ คำสั่ง และกระบวนงานที่ถูกเก็บไว้ด้วยกัน เป็นหน่วยเดียว โมดูลสามารถเป็นได้ทั้งคลาสโมดูลหรือโมดูลมาตรฐาน คลาสโมดูลจะถูกแนบไว้ ในฟอร์มหรือรายงาน และมักจะประกอบด้วยกระบวนงานที่เฉพาะเจาะจงไปยังฟอร์มหรือรายงาน ที่คลาสโมดูลแนบอยู่ ส่วนโมดูลมาตรฐานจะประกอบด้วยกระบวนงานทั่วไปที่ไม่สัมพันธ์กับวัตถุ อื่นใด โมดูลมาตรฐานจะถูกแสดงอยู่ภายใต้ โมดูล ในบานหน้าต่างนำทาง ขณะที่คลาสโมดูลจะไม่ ถูกแสดงไว้

1.5.5 แมโคร (Macros)

1.5.5 แมโคร (Macros)



แมโครใน Access 2007 นั้นจะเหมือนกับภาษาที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมอย่างง่ายที่ สามารถใช้เพื่อเพิ่มหน้าที่การใช้งานให้กับฐานข้อมูล ตัวอย่างเช่น สามารถแนบแมโครลงในปุ่ม คำสั่งบนฟอร์ม เพื่อให้แมโครนั้นทำงานเมื่อใดก็ตามที่มีการกดปุ่ม แมโครจะมีแอคชันที่ใช้ ดำเนินงานหลายอย่าง เช่น การเปิ ดรายงาน การเรียกใช้แบบสอบถาม หรือการปิ ดฐานข้อมูล โดย การดำเนินการกับฐานข้อมูลส่วนใหญ่ที่ทำด้วยตนเองนั้นสามารถทำได้อัตโนมัติโดยใช้แมโคร ดังนั้นแมโครจึงเป็นเครื่องมือที่ช่วยประหยัดเวลาที่อย่างมาก

 

รูปที่ 1-9 ปุ่มเครื่องมือแมโครในโปรแกรม Microsoft Access 2007


1.5.4 แบบสอบถาม (Query)

1.5.4 แบบสอบถาม (Query)



แบบสอบถามเป็นส่วนสำคัญในฐานข้อมูลและสามารถดำเนินการฟังก์ชันที่ต่างกันได้ จำนวนมาก ฟังก์ชันทั่วไปส่วนใหญ่ของแบบสอบถาม คือ การดึงข้อมูลที่ระบุจากตารางต่าง ๆ ออกมา โดยข้อมูลที่คุณต้องการดูอาจจะกระจายอยู่ในหลาย ๆ ตารางก็ได้ และแบบสอบถามจะทำ ให้สามารถดูข้อมูลที่ต้องการได้ในรูปของแผ่นข้อมูลเดียว นอกจากนี้ ถ้าเราไม่ต้องการดูระเบียน ทั้งหมดพร้อมกัน แบบสอบถามจะให้เพิ่มเงื่อนไขเพื่อ “กรอง” ข้อมูลเอาเฉพาะระเบียนที่ต้องการ ออกมา บ่อยครั้งที่แบบสอบถามทำหน้าที่เป็นแหล่งระเบียนสำหรับฟอร์มและรายงานต่าง ๆ
 
รูปที่ 1-8 แบบสอบถามของฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access 2007

แบบสอบถามบางชุด “สามารถปรับปรุงได้” นั่นหมายความว่า สามารถแก้ไขข้อมูล ในตารางต้นแบบผ่านแผ่นข้อมูลแบบสอบถามได้ ถ้าทำงานในแบบสอบถามที่สามารถปรับปรุงได้ โปรดจำไว้ว่าการเปลี่ยนแปลงจะมีผลกับตารางต่าง ๆ ด้วย ไม่ใช่เฉพาะในแผ่นข้อมูลแบบสอบถาม เท่านั้น

แบบสอบถามมีรูปแบบพื้นฐานสองรูปแบบ ได้แก่ แบบสอบถามแบบใช้เลือกข้อมูล และแบบสอบถามแอคชัน แบบสอบถามแบบใช้เลือกข้อมูล จะเรียกใช้ข้อมูลและทำให้ข้อมูลพร้อม ใช้งานได้อย่างง่ายดาย สามารถดูผลลัพธ์ของแบบสอบถามบนหน้าจอ พิมพ์แบบสอบถาม หรือ คัดลอกไปยังคลิปบอร์ด หรือยังสามารถใช้ผลลัพธ์ของแบบสอบถามเป็นแหล่งระเบียนสำหรับ ฟอร์มหรือรายงานได้ ส่วนแบบสอบถามแอคชัน จะดำเนินงานกับข้อมูล โดยแบบสอบถามแอคชัน สามารถใช้สร้างตารางใหม่ เพิ่มข้อมูลลงในตารางที่มีอยู่ ปรับปรุงข้อมูล หรือลบข้อมูลได้

1.5.3 รายงาน (Report)

1.5.3 รายงาน (Report)



รายงานเป็นสิ่งที่ต้องใช้เพื่อสรุปและนำเสนอข้อมูลในตาราง บ่อยครั้งที่รายงานจะ ตอบคำถามตามที่ระบุไว้ เช่น “เรารับเงินจากนักศึกษาแต่ละคนเป็นจำนวนเท่าไรในรุ่นนี้” หรือ“นักศึกษาของเราอยู่ที่ไหนบ้าง” แต่ละรายงานสามารถกำหนดรูปแบบให้นำเสนอข้อมูลในรูปแบบ ที่อ่านง่ายที่สุดได้
 
รูปที่ 1-7 รายงานของฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access 2007

รายงานสามารถถูกเรียกใช้เวลาใดก็ได้ และจะแสดงข้อมูลปัจจุบันในฐานข้อมูลเสมอ โดยทั่วไปรายงานจะถูกจัดรูปแบบให้สามารถพิมพ์ออกมาได้ แต่ก็ยังสามารถดูรายงานบนหน้าจอ ส่งออกไปยังโปรแกรมอื่น หรือส่งเป็นข้อความอีเมลได้เช่นกัน

1.5.2 ฟอร์ม (Form)

1.5.2 ฟอร์ม (Form)



ในบางครั้งฟอร์มจะถูกอ้างอิงเป็น “หน้าจอสำหรับป้ อนข้อมูล” ซึ่งเป็นส่วนติดต่อที่ใช้ ทำงานกับข้อมูล และฟอร์มมักมีปุ่มคำสั่งที่ใช้ดำเนินการคำสั่งได้หลากหลาย สามารถสร้าง ฐานข้อมูลโดยไม่ต้องใช้ฟอร์มด้วยการแก้ไขข้อมูลอย่างง่าย ๆ ในแผ่นข้อมูลตาราง อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้ฐานข้อมูลส่วนใหญ่ต้องการที่จะใช้ฟอร์มเพื่อดู ป้ อนข้อมูล และแก้ไขข้อมูลในตารางมากกว่า

 
รูปที่ 1-6 ฟอร์มของฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access 2007

ฟอร์มจะให้รูปแบบที่ง่ายต่อการใช้สำหรับทำงานกับข้อมูล และสามารถเพิ่ม องค์ประกอบการใช้งาน เช่น ปุ่มคำสั่ง ลงในฟอร์มได้ด้วย คุณอาจเขียนโปรแกรมให้กับปุ่มต่าง ๆ เพื่อใช้กำหนดว่าจะให้ข้อมูลใดบ้างปรากฏบนฟอร์ม เปิ ดฟอร์มหรือรายงานอื่น ๆ หรือดำเนินงาน อื่นหลากหลายประเภท ตัวอย่างเช่น อาจมีฟอร์มชื่อ “ข้อมูลนักศึกษา” ที่ใช้ทำงานกับข้อมูล นักศึกษา ฟอร์มนักศึกษา อาจมีปุ่มที่ใช้เปิ ดฟอร์มบัตรลงทะเบียนที่สามารถป้ อนรายการลงทะเบียน ใหม่สำหรับนักศึกษาคนนั้นได้ 

นอกจากนี้ ฟอร์มยังอนุญาตให้เราสามารถควบคุมวิธีที่ผู้ใช้รายอื่นจะโต้ตอบกับข้อมูล ในฐานข้อมูลด้วย ตัวอย่างเช่น สามารถสร้างฟอร์มที่แสดงเฉพาะบางเขตข้อมูลและอนุญาตให้มีการ ดำเนินการได้เพียงบางอย่างเท่านั้น สิ่งนี้จะช่วยป้ องกันข้อมูลและทำให้แน่ใจได้ว่าข้อมูลจะถูกป้ อน อย่างถูกต้อง

1.5.1 ตาราง (Table)

1.5.1 ตาราง (Table)



ตารางฐานข้อมูลจะมีลักษณะคล้ายกับกระดาษคำนวณ นั่นคือข้อมูลจะถูกเก็บไว้ใน แถวและคอลัมน์ ดังนั้น จึงเป็นเรื่องค่อนข้างง่ายในการนำเข้าข้อมูลจากกระดาษคำนวณไปยังตาราง ฐานข้อมูล โดยข้อแตกต่างที่สำคัญระหว่างการเก็บข้อมูลในกระดาษคำนวณและการเก็บใน ฐานข้อมูลจะอยู่ที่วิธีการจัดระเบียบข้อมูล

รูปที่ 1-5 ตารางฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access 2007

เมื่อต้องการความยืดหยุ่นสำหรับฐานข้อมูลให้มากที่สุด ข้อมูลต้องมีการจัดระเบียบลง ในตารางเพอื่ ไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน ตัวอย่างเช่น ถ้าคุณจะเก็บข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาหรือพนักงาน ควรป้ อนข้อมูลของนักศึกษาหรือพนักงานแต่ละคนเข้าไปในตารางที่ใช้เก็บข้อมูลนักศึกษาหรือ พนักงานเพียงครั้งเดียว ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์จะเก็บในตารางของวิชาหรือผลิตภัณฑ์ และข้อมูล เกี่ยวกับที่อยู่ของสาขาจะเก็บในตารางอื่น กระบวนการนี้เรียกว่า การทำ Normalization

แต่ละแถวในตารางจะถูกอ้างอิงเป็นหนึ่งระเบียน ระเบียนคือที่ที่ใช้เก็บข้อมูลแต่ละ ส่วน แต่ละระเบียนจะประกอบด้วยเขตข้อมูลอย่างน้อยหนึ่งเขตข้อมูล เขตข้อมูลจะสอดคล้องกับ คอลัมน์ในตาราง ตัวอย่างเช่น ถ้ามีตารางหนึ่งที่ชื่อ “ข้อมูลนักศึกษา” ซึ่งแต่ละระเบียน (แถว) จะมี ข้อมูล เกี่ยวกับนักศึกษาหนึ่งคน และแต่ละเขตข้อมูล (คอลัมน์) จะมีชนิดข้อมูลที่ต่างกัน เช่น ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ และอื่น ๆ เขตข้อมูลนั้นต้องได้รับการออกแบบให้มีชนิดข้อมูลที่แน่นอน ไม่ว่าจะ เป็นข้อความ วันที่หรือเวลา ตัวเลข หรือชนิดข้อมูลอื่น ๆ 

อีกวิธีหนึ่งที่จะอธิบายให้เห็นภาพของระเบียนและเขตข้อมูลก็คือให้นึกถึงชุดบัตร ข้อมูลรุ่นเก่าของห้องสมุด โดยบัตรข้อมูลแต่ละใบที่อยู่ในตู้บัตรรายการจะเทียบเท่ากับระเบียนใน ฐานข้อมูล ส่วนข้อมูลแต่ละส่วนบนบัตรแต่ละใบ (ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง และอื่น ๆ) จะเทียบเท่ากับเขต ข้อมูลในฐานข้อมูล

1.5 ส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access 2007

1.5 ส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access 2007


ส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access 2007 มีดังต่อไปนี้

1.5.1 ตาราง (Table)

1.5.2 ฟอร์ม (Form)

1.5.3 รายงาน (Report)

1.5.4 แบบสอบถาม (Query)

1.5.5 แมโคร (Macros)

1.5.6 โมดูล (Modules)

1.4 ระบบฐานข้อมูลใน Access 2007

1.4 ระบบฐานข้อมูลใน Access 2007



ฐานข้อมูลเป็นเครื่องมือสำหรับการเก็บรวบรวมและจัดระเบียบข้อมูล ฐานข้อมูลสามารถ เก็บข้อมูลเกี่ยวกับบุคคล ผลิตภัณฑ์ ใบสั่งซื้อ หรือสิ่งอื่นใดก็ได้ ฐานข้อมูลจำนวนมากเริ่มมาจาก รายการในโปรแกรมประมวลผลคำหรือโปรแกรมกระดาษคำนวณ เมื่อรายการมีขนาดใหญ่ขึ้น ความซ้ำซ้อนและความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลจะเริ่มปรากฏขึ้น การดูข้อมูลในฟอร์มรายการเริ่มไม่เข้าใจ และมีข้อจำกัดในการค้นหาหรือดึงเซตย่อยของข้อมูลมาตรวจทาน เมื่อปัญหาดังกล่าว เกิดขึ้นแล้ว จึงเป็นการดีที่จะโอนถ่ายข้อมูลไปยังฐานข้อมูลที่สร้างขึ้นด้วยระบบการจัดการ ฐานข้อมูล (DBMS) เช่น MS Access 2007 

ฐานข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์เป็นคอนเทนเนอร์ของวัตถุ โดยฐานข้อมูลหนึ่งชุดสามารถ มีตารางได้มากกว่าหนึ่งตาราง ตัวอย่างเช่น ระบบติดตามสินค้าคงคลังหนึ่งระบบจะใช้ข้อมูลจาก ตารางสามตารางไม่ใช่จากฐานข้อมูลสามชุด แต่ฐานข้อมูลหนึ่งชุดนั้นสามารถมีตารางได้สามตาราง เว้นแต่ว่าฐานข้อมูลนั้นจะถูกออกแบบพิเศษให้ใช้ข้อมูลหรือโค้ดจากแหล่งข้อมูลอื่นได้ ฐานข้อมูล Access จะเก็บตารางไว้ในแฟ้ มข้อมูลเดียว พร้อมกับวัตถุอื่นด้วย เช่น ฟอร์ม รายงาน แมโคร และ โมดูล โดยฐานข้อมูลที่สร้างในรูปแบบ Access 2007 จะมีนามสกุลเป็น .accdb และฐานข้อมูลที่ สร้างในรูปแบบของ Access รุ่นก่อนหน้าจะมีนามสกุลแฟ้ มเป็น .mdb คุณสามารถใช้ Access 2007 สร้างแฟ้ มข้อมูลในรูปแบบแฟ้ มของรุ่นก่อนหน้าได้ (ตัวอย่างเช่น Access 2000 และ Access 2002- 2003)

ความจำเป็นในการใช้ Access 2007 คือ

1. เพิ่มข้อมูลใหม่ลงในฐานข้อมูล เช่น รายการใหม่ในสินค้าคงคลัง

2. แก้ไขข้อมูลที่มีอยู่ในฐานข้อมูล เช่น การเปลี่ยนตำแหน่งที่ตั้งปัจจุบันของรายการ

3. ลบข้อมูล ถ้ารายการถูกขายออกหรือละทิ้งแล้ว

4. จัดระเบียบและดูข้อมูลด้วยวิธีต่างๆ

5. ใช้ข้อมูลร่วมกันกับผู้อื่นผ่านทางรายงาน ข้อความอีเมล อินทราเน็ต หรืออินเทอร์เน็ต

1.3 ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล

1.3 ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล



การจัดเก็บข้อมูลไว้ในฐานข้อมูลที่เดียวกันด้วยระบบการจัดการฐานข้อมูล มีประโยชน์ดังนี้

1. สามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้ ผู้ใช้แต่ละคนสามารถที่จะใช้ข้อมูลในระบบฐานข้อมูลได้และโปรแกรมใช้งานหลายโปรแกรมอาจใช้ฐานข้อมูลร่วมกันได้

2. สามารถกำหนดมาตรฐานของข้อมูลได้ ผู้บริหารฐานข้อมูลอาจกำหนดมาตรฐานต่างๆ ในการจัดเก็บข้อมูลให้เป็นลักษณะเดียวกัน เช่น โครงสร้างข้อมูล ประเภทของข้อมูล เป็นต้น

3. ลดความซ้ำซ้อนของข้อมูลได้ ผู้ใช้ทุกคนที่ต้องการจัดเก็บข้อมูลจะใช้โดยผ่าระบบการจัดการฐานข้อมูล ทำให้ข้อมูลไม่ซ้ำกันและไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูล

4. ลดความขัดแย้งของข้อมูลได้ ข้อมูลชุดเดียวกันที่ปรากฏอยู่หลายแห่งในฐานข้อมูลจะต้องตรงกัน ถ้ามีการแก้ไขข้อมูลนี้ ระบบการจัดการฐานข้อมูลจะต้องแก้ไขให้ถูกต้องตามกันหมดโดยอัตโนมัติ

5. ป้องกันและรักษาความปลอดภัยของข้อมูลได้ โดยกำหนดสิทธ์ิของผู้ใช้แต่ละคนตามระดับการใช้งาน เช่น ผู้ใช้ทั่วไปอาจใช้ข้อมูลบางส่วน ผู้ใช้ที่มีหน้าที่บันทึกและแก้ไขข้อมูลก็มีสิทธ์ิใช้ข้อมูลได้อีกระดับหนึ่ง เป็นต้น

6. ดูแลรักษาฐานข้อมูลไดง่าย เช่น การทำสำเนาฐานข้อมูล การบูรณะฐานข้อมูลให้กลับสู่สภาพปกติ

1.2 ระบบฐานข้อมูล

1.2 ระบบฐานข้อมูล (Database System)

ระบบฐานข้อมูล (Database System) หมายถึง ส่วนประกอบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานฐานข้อมูล อาจแบ่งเป็นฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และบุคลากร (Personnel)เหมือนระบบคอมพิวเตอร์ ดังนี้

ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ประกอบ เช่น ฮาร์ดดิสก์ ที่ใช้เก็บฐานข้อมูล อุปกรณ์นำเข้าข้อมูลแบบต่างๆและโปรแกรมใช้งาน

ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง โปรแกรมใช้งานและระบบการจัดการฐานข้อมูล

บุคลากร (Personnel) หมายถึง บุคลากรที่เกี่ยวข้องกับระบบหรือผู้ใช้งานฐานข้อมูล

เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นอาจดูผังลักษณะการใช้งานระบบฐานข้อมูล ดังนี้

 
รูปที่ 1-4 ผังลักษณะการใช้งานระบบฐานข้อมูล

ผู้ใช้งานฐานข้อมูล หรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับฐานข้อมูลแบ่งได้เป็น

1. ผู้ใช้ (User) หมายถึง ผู้ที่ต้องการใช้ฐานข้อมูลทั่วไป การใช้งานอาจทำได้โดยผ่านโปรแกรมใช้งานหรือผ่านระบบการจัดการฐานข้อมูลถ้ามีความรู้เกี่ยวกับระบบเพียงพอ

2.ผู้เขียนโปรแกรมใช้งาน (Application Programmer) หมายถึง ผู้ที่สร้างฐานข้อมูลและพัฒนาโปรแกรมใช้งานสำหรับให้ผู้ใช้สามารถใช้งานฐานข้อมูลได้ง่าย และให้ผู้บริหารฐานข้อมูลสามารถจัดการฐานข้อมูลได้สะดวกขึ้น

3.ผู้บริหารฐานข้อมูล (Database Administrator) หมายถึง ผู้ที่ออกแบบฐานข้อมูลดูแลรักษาและจัดการฐานข้อมูลให้ปลอดภัย ทันสมัย และถูกต้องอยู่เสมอ

โปรแกรมใช้งานฐานข้อมูล อาจทำขึ้นโดยใช้ภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่นวิชวลเบสิก (Visual Basic) หรือใช้ภาษาสำหรับฐานข้อมูล คือ SQL (Structured Query Language)หรือใช้ระบบการจัดการฐานข้อมูล (DBMS: Database Management System) โดยตรงก็ได้

การใช้งานระบบฐานข้อมูล อาจเป็นแบบใช้งานคนเดียว (Single User) หรือระบบใช้งานหลายคน (Multi - User) ที่เชื่อมต่อกันเป็นเครือข่าย (Network) ภายในหน่วยงานที่เรียกว่าอินทราเน็ต (Intranet) หรือใช้งานผ่านระบบอินเทอร์เน็ตที่กำลังเป็นที่นิยมกันในปัจจุบัน

ระบบการจัดการฐานข้อมูล หมายถึง ชุดโปรแกรมที่ใช้ในการจัดการฐานข้อมูล เช่น การสร้างฐานข้อมูล การบันทึกข้อมูล การปรับปรุงแก้ไขข้อมูล การสืบค้นข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลการจัดทำรายงาน และอื่น ๆ

ตัวอย่างของโปรแกรมที่ใช้จัดการฐานข้อมูล ได้แก่ Microsoft Access, Microsoft SQL Server, MySQL, Oracle เป็นต้น

1.1 ข้อมูลและฐานข้อมูล

1.1 ข้อมูลและฐานข้อมูล


ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ทั่วไป เช่น ราคาสินค้า คะแนนของนักเรียนแต่ละคน ซึ่งปกติถือว่าเป็น ข้อมูลดิบ (Raw Data) ที่ยังไม่ได้ผ่านการประมวลผล

ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วเรียกว่า สารสนเทศ (Information) เช่น เมื่อนำคะแนนของนักเรียนทั้งหมดมาประมวลผลก็จะได้คะแนนสูงสุด คะแนนต่ำสุดของนักเรียนทั้งหมด

ข้อมูลที่นำมาจัดเก็บในฐานข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร ข้อความ รูปภาพเสียง หรือภาพและเสียง

ฐานข้อมูล (Database) หมายถึง แหล่งเก็บรวบรวมข้อมูลกลุ่มหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อหรือจุดประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง มีโครงการและการจัดการอย่างเป็นระบบ ข้อมูลที่บันทึกเก็บไว้สามารถปรับปรุงแก้ไข สืบค้น และนำมาใช้ในการจัดการสารสนเทศได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

ฐานข้อมูลในที่นี้หมายถึงฐานข้อมูลที่ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ ส่วนอุปกรณ์ที่เก็บข้อมูลก็คือจานแม่เหล็กหรือฮาร์ดดิสก์นั่นเอง ตัวอย่างฐานข้อมูลที่ใช้กันทั่วไป ได้แก่ ฐานข้อมูลบุคลากรฐานข้อมูลนักศึกษา ฐานข้อมูลสินค้า ฯลฯ

ปกติฐานข้อมูลจะถูกจัดเก็บไว้ที่ส่วนกลางของหน่วยงานหรือองค์กร เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเรียกใช้ข้อมูลร่วมกันได้ โดยอาจใช้ข้อมูลได้บางส่วนหรือทั้งหมดขึ้นอยู่กับการกำหนดสิทธ์ิในการใช้งาน

ฐานข้อมูลอาจเก็บข้อมูลไว้ในแฟ้ มเดียวกันหรือแยกเก็บหลาย ๆ แฟ้ มที่มีความสัมพันธ์กันโดยแต่ละแฟ้มเรียกว่า ตาราง (Table) ซึ่งมีลักษณะโครงสร้าง ดังรูป

รูปที่ 1-1 ส่วนประกอบของฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access 2007

โครงสร้างของตารางประกอบด้วย
1. ชื่อตารางหรือชื่อฐานข้อมูล (Database Name)
2. เขตข้อมูลในแนวตัง้ (Column) หรือฟิลด์ (Field) หลายฟิลด์
3. รายการข้อมูลหรือระเบียน (Record) หลายรายการในแนวนอน (Row)

ตัวอย่าง ตารางฐานข้อมูลชื่อ ข้อมูลนักศึกษา มีฟิ ลด์ต่าง ๆ ที่ไม่ซ้ำกัน เช่น รหัสนักศึกษา(StudentID) ชื่อ นามสกุล ที่อยู่ เมือง จังหวัด ฯลฯ ซึ่งข้อมูลของนักศึกษาแต่ละคนจัดเก็บในระเบียนที่ไม่ซ้ำกันตามฟิลด์ต่าง ๆ

ศัพท์สำคัญเกี่ยวกับระบบฐานข้อมูล และการออกแบบระบบฐานข้อมูล คือ
1. เอนทิตี้ (Entity) เป็นคำที่อ้างอิงถึงบุคคล สถานที่ และสิ่งของต่าง ๆ เช่น สินค้าหรือวิชา ใบสั่งซื้อหรือบัตรลงทะเบียน และลูกค้าหรือนักศึกษา เป็นต้น ถ้าเราสนใจในการสร้างระบบฐานข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า เอนทิตี้ของระบบนี้จะประกอบด้วย เอนทิตี้ลูกค้า ใบสั่งซื้อสินค้า กับสินค้า ดังรูป
2.แอตทริบิวต์ (Attribute) เป็นข้อมูลที่แสดงลักษณะของเอนทิตี้ เช่น แอตทิบิวต์ของเอนทิตี้ลูกค้าหรือนักศึกษา จะมีชื่อ ที่อยู่ และรหัสไปรษณีย์ ส่วนแอตทริบิวต์ของเอนทิตี้ใบสั่งซื้อสินค้า จะมีรหัสใบสั่งซื้อ วันที่สั่งซื้อ ชื่อสินค้า จำนวนสินค้าที่สั่ง และราคาสินค้า เป็นต้น ซึ่งเราสามารถแสดงเอนทิตี้ รวมทั้งแอตทิบิวต์ได้
3.ความสัมพันธ์ (Relationships) หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี้ต่าง ๆ ในระบบ เช่น ในระบบการสั่งซื้อสินค้า จะประกอบด้วยเอนทิตี้ใบสั่งซื้อสินค้า และเอนทิตี้ลูกค้าซึ่งมีความสัมพันธ์จากลูกค้าไปยังใบสั่งซื้อสินค้าเป็นแบบหนึ่งต่อกลุ่ม (One – to - Many) เป็นต้น

รูปที่ 1-2 ส่วนประกอบของเอนทิตี้ แอตทริบิวต์ และความสัมพันธ์ในระบบฐานข้อมูล

ในระบบฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์นั้น เราจะต้องกำหนดชนิดของคีย์ต่าง ๆ เพื่อเป็นแอตทริบิวต์พิเศษที่ทำหน้าที่บางอย่าง เช่น เป็นตัวแทนของตาราง ฯลฯ ซึ่งมีชนิดคีย์ ดังนี้

1. Primary Key (คีย์หลัก) จะเป็นฟิลด์ที่มีค่าไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละเรคอร์ดในตารานั้น เราสามารถใช้ฟิลด์ที่เป็น Primary Key นี้ เป็นตัวแทนของตารางนั้นได้ทันที

2. Candidate Key (คีย์คู่แข่ง) เป็นฟิลด์หนึ่งหรือหลายฟิลด์ที่พอเอามารวมกันแล้วมีคุณสมบัติเป็น Primary Key (ไม่ซ้ำ) และไม่ได้ถูกใช้เป็นคีย์หลัก เช่น รหัสจังหวัดเป็นคีย์หลักส่วนชื่อจังหวัดก็ไม่ซ้ำเช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นคีย์หลักจึงเป็นคีย์คู่แข่งแทน

3. Composite Key บางตารางหาฟิ ลด์ไม่ซ้ำไม่ได้เลย จึงต้องใช้หลาย ๆ ฟิลด์มารวมกันเป็น Primary Key ฟิลด์ที่ใช้รวมกันนี้เราเรียกว่า Composite Key

4. Foreign Key เป็นฟิลด์ใดๆ ในตารางหนึ่ง (ฝั่ง Many) ที่มีความสัมพันธ์กับฟิลด์ที่เป็น Primary Key ในอีกตารางหนึ่ง (ฝั่ง One) โดยที่ตารางทั้งสองมีความสัมพันธ์แบบ One –to – Many ต่อกัน

ฐานข้อมูลมีหลายแบบแต่ที่นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน คือ ฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์(Relational Database) ซึ่งมีโครงสร้างเป็นตารางหลายตารางที่มีความสัมพันธ์กันโดยใช้ฟิ ลด์ที่เหมือนกัน เช่น รหัสนักศึกษา (StudentID)

 

รูปที่ 1-3 ส่วนประกอบของฐานข้อมูลในโปรแกรม Microsoft Access 2007

ลักษณะของฐานข้อมูลแบบสัมพันธ์

1.ค่าของข้อมูลต้องเป็นค่าที่ไม่สามารถแบ่งแยกออกไปได้อีก เช่น ชื่อ

2.ค่าในแนวตั้ง (Column)หรือฟิ ลด์ต้องเป็นแบบเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นฟิ ลด์สำหรับเก็บชื่อก็ต้องเป็นชื่อจริงทั้งหมด ไม่มีชื่อเล่นมาเก็บด้วย

3.ลำดับของฟิลด์ไม่จำเป็นต้องเรียงกัน เช่น อาจใช้ฟิลด์นามสกุลก่อนฟิลด์ชื่อก็ได้

4.ชื่อฟิลด์ในตารางเดียวกันจะต้องไม่ซ้ำกัน

5.ต้องกาหนดฟิ ลด์ใดฟิ ลด์หนึ่งเป็นดัชนี ํ (Index)หรือเรียกวา กุญแจหลัก ่ (PrimaryKey)

6.ข้อมูลในแต่ละแถวหรือระเบียนต้องไม่ซ้ำกันกับแถวอื่น

7.ไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับของข้อมูลแต่ละแถวหรือระเบียน

ตารางที่ 1-1 การเปรียบเทียบศัพท์ทั่วไปกับศัพท์เทคนิคในระบบฐานข้อมูล

 



สารบัญ

บทที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับฐานข้อมูล และหลักการออกแบบฐานข้อมูล
1.1 ข้อมูลและฐานข้อมูล
1.2 ระบบฐานข้อมูล
1.3 ประโยชน์ของระบบฐานข้อมูล
1.4 ระบบฐานข้อมูลใน Access 2007
1.5 ส่วนประกอบของฐานข้อมูล Access 2007
1.5.1 ตาราง (Table)
1.5.2 ฟอร์ม (Form)
1.5.3 รายงาน (Report)
1.5.4 แบบสอบถาม (Query)
1.5.5 แมโคร (Macros)
1.5.6 โมดูล (Modules)
1.6 สเปคของฐานข้อมูลใน Access 2007
1.7 สเปคของโครงการใน Access 2007
1.8 หลักการออกแบบฐานข้อมูลที่ดี
1.9 กระบวนการออกแบบ
1.9.1 การกำหนดวัตถุประสงค์ของฐานข้อมูล
1.9.2 การค้นหาและการจัดระเบียบข้อมูลที่ต้องการ
1.9.3 การแบ่งข้อมูลลงในตารางต่าง ๆ
1.9.4 การเปลี่ยนรายการข้อมูลให้เป็นคอลัมน์
1.9.5 การระบุคีย์หลัก
1.9.6 การสร้างความสัมพันธ์ของตาราง
1.9.6.1. การสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-กลุ่ม
1.9.6.2 การสร้างความสัมพันธ์แบบกลุ่ม -ต่อ-กลุ่ม
1.9.6.3 การสร้างความสัมพันธ์แบบหนึ่ง-ต่อ-หนึ่ง
1.9.7 การปรับการออกแบบให้ดียิ่งขึ้น
1.9.8 การใช้กฎ Normalization


บทที่ 2 คุณลักษณะใหม่ของโปรแกรม Microsoft Access 2007
2.1 ส่วนติดต่อผู้ใช้ที่ปรับปรุงใหม่
2.1.1 หน้า
2.1.2 ปุ่ม Office
2.1.3 Ribbon
2.1.4 บานหน้าต่างนำทาง
2.1.5 เอกสารในแท็บ
2.1.6 แถบสถานะ
2.1.7 แถบเครื่องมือขนาดเล็ก
2.2 แม่แบบชั้นเยี่ยมสำหรับเริ่มต้น
2.3 คุณลักษณะใหม่
2.3.1 การเรียงลำดับและการกรองที่มีประสิทธิภาพขึ้น
2.3.2 มุมมองเค้าโครง
2.3.3 เค้าโครงแบบเรียงซ้อนและแบบตาราง
2.3.4 ปฏิทินสำหรับเลือกวันที่อัตโนมัติ
2.3.5 Rich Text ในเขตข้อมูล Memo
2.3.6 สร้างงานเร็วขึ้นโดยใช้แท็บสร้าง
2.3.7 สร้างตารางได้อย่างรวดเร็วโดยใช้มุมมองแผ่นข้อมูลที่ปรับปรุงใหม่
2.3.8 แถวผลรวมในแผ่นข้อมูล
2.3.9 แม่แบบเขตข้อมูลสำหรับการสร้างเขตข้อมูลใหม่
2.3.10 บานหน้าต่างงานรายการเขตข้อมูล
2.3.11 ฟอร์มแยก
2.3.12 เขตข้อมูลที่มีหลายค่า
2.3.13 ชนิดข้อมูล Attachment สำหรับเก็บรูปภาพ กราฟิก แฟ้ม Office หรือแฟ้มชนิดใด ๆ
2.3.14 ใช้สีพื้นหลังที่สลับกัน
2.3.15 บานหน้าต่างนำทาง
2.3.16 แมโครฝังตัว
2.3.17 ตัวแสดงวิธีใช้ที่ปรับปรุงใหม่
บทที่ 3 การสร้างตารางฐานข้อมูล
บทที่ 4 การสร้างความสัมพันธ์และการสร้างแบบสอบถาม
บทที่ 5 การสร้างฟอร์ม
บทที่ 6 การสร้างรายงาน